|
รูปสลักหินเทพเจ้าแห่งโชคลาภ คนจีนเรียก "
ไฉ่ซิ้งเอี้ย "
คนทิเบต อินเดีย เนปาลเรียก " ชัมภล
หรือ ชัมภาลา"
คนไทยเรียก "ท้าวกุเวร หรือ พระธนบดี
หรือ ท้าวเวสสุวรรณ " ฯลฯ
องค์นี้อายุประมาณพันกว่าปี สมัยราชวงศ์ถึงอยู่ที่วัดหลิงหยิ่น มณฑลหังโจว
ประเทศจีน
|
ท้าวจตุโลกบาลกับพระราหู
ในตำนานเทวกำเนิดได้กล่าวไว้ว่า เมื่อเหล่าเทวดาและอสูรกวนน้ำอมฤตพระราหูได้แอบกินน้ำอมฤต
จึงมีความ
เป็นอมตะ มีฤทธิ์มาใครทำอะไรไม่ได้จะมี ก็แต่เพียงท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อัน
ประกอบด้วย ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหค ท้าววิรุฬ
ปักษ์และท้าวกุเวร ที่ล่วงรู้ความลับ วิธีการกำจัดพระราหูได้ ดังนั้นเหล่าทวยเทพจึงยกย่องท้าวจตุโลกบาลทั้ง
4 ให้เป็นผู้
คุ้มครองดูแลทั้งโลกมนุษย์และสวรรค์ เป็นใหญ่ ทั้ง 4 ทิศ และพระราหูก็ให้ความยำเกรงในทิศเหนือ
ซึ่งก็คือท้าวกุเวรนั่นเอง
มีอีกตำนานหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เรื่องราวของพระเคราะห์ชาติเวร ซึ่งพระเทพภาวนาวิกรม
(เจ้าคุณธงชัย) วัด
ไตรมิตร ได้กล่าวว่า มีพี่น้องสามคนเป็นลูกของเศรษฐี เมื่อพ่อแม่ตายไปก็ได้รับสมบัติมาตามส่วน
พี่ชายคนโตดำรงอยู่ใน
ศีลธรรม ประหยัด มัธยัสถ์ ก็มีฐานะร่ำรวย และไม่ตกต่ำ ชีวิตมีแต่ความรุ่งโรจน์
ยามทำบุญก็ตักบาตรด้วยขันทองคำ และ
อธิษฐานว่าชาติหน้าฉันใด ขอได้เกิดเป็นพระอาทิตย์ เพื่อให้แสงสว่างกับมนุษย์
น้องคนที่สองก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่าพี่ชาย ปฏิบัติ
ธรรมแต่มีกรรมเก่าตัดทอน เงินทองร่อยหรอไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นเศรษฐีอยู่ แต่ตักบาตรด้วยขันเงิน
และอธิษฐานขอพร ชาติ
หน้าฉันใดขอให้ได้เกิดเป็นพระจันทร์ เพื่อที่จะช่วยพี่ชายให้แสงสว่างในยามกลางคืน
ก็สมหวังตามใจปรารถนา น้องสุด
ท้อง เกิดมามีร่างกายดำ จิตใจดำ หลงไหลอบายมุข นิสัยเกเร ก็ใช้กะลามาตักบาตรอธิษฐานว่าเกิดชาติหน้าฉันใด
ขอเป็น ใหญ่ว่าพี่ทั้งสอง ตายไปจึงเกิดเป็นพระราหูไปจับกินพี่ทั้งสอง
คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ เป็นผู้รักษาเงินทอง จึงต้องบังคับ
ให้พระราหูคายพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดังนั้นความหมายโดยรวม ท้าวกุเวร เป็นใหญ่ในทรัพย์ทั้งปวง
ราหูเป็นผู้ดูแล พ้อง
กับที่ว่าราหูเป็นอุปราช
สำหรับคาถาบูชาขอดชคลาภจากพระอาทิตย์
พระจันทร์ พระราหู มีดังนี้
*
เอกะจักขุ นาฬิเกลา สุริยะประภา ราหูคาหา สัตตะรัตนะ สัมปันโณ มณีโชติ ระโส
ยะถา สุวัณณะ
รัชชะตะ สะมิทธา อะหังวันทามิ เมสะทา
*
เอกะจักขุ นาฬิเกลา จันทรประภา ราหูคาหา สัตตะรัตนะ สัมปันโณ มณีโชติ ระโส
ยะถา สุวัณณะ
รัชชะตะ สะมิทธา อะหังวันทามิ เมสะทา
โดยใจความคาถานี้ กล่าวถึงการขอโชคลาภ เงิน (รัชชะตะ) ทอง (สุวัณณะ) โดยให้พระราหูที่จับกลืนกิน
(ราหู
คาหา) พระอาทิตย์ พระจันทร์ ทรัพย์สมบัติอันเปรียบประดุจแก้วมณี 7 ประการ
(สัตตะรัตนฯ) ซึ่งหมายถึง สมบัติจักรพรรดิ
เอกะจักขุ นาฬิเกลา คือ กะลาตาเดียว
สรุปแล้ว คาถานี้เปรียบเสมือนคำกล่าวที่ใช้ในการขอพรทางด้านโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง
ตามพระเคราะห์
ชาติเวรที่ใช้กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ได้กล่าวถึงเรื่องท้าวจตุโลกบาลทั้ง
4 ไว้ว่าทุกครั้งที่หลวงพ่อปานประกอบพิธีกรรม จะต้องบอกกล่าวและอัญเชิญท่านให้มาช่วยเหลือทุกครั้ง
โดยเฉพาะองค์
ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร
ท้าวกุเวรในทางพระพุทธศาสนามหายาน
ก็ได้มีกล่าวไว้และให้ความสำคัญอย่างเด่นชัดว่าท่านเป็นเจ้าแห่งทรัพย์สมบัติและโชคลาภ
มีชื่อเรียกว่า
" ไฉ่ซิ้งเอี้ยและชัมภล " ซึ่งพบปรากฏเป็นรูปสลักหินที่วัดหลิงหยิ่น
เมืองหังโจว หรือในทิเบต ก็พบว่ามีการสร้างไว้อย่าง
มากมายหลายปางด้วยกัน และทางเข้าวัดจีนทุกแห่งจะต้องมีรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง
4 องค์ประดิษฐานอยู่ในฐานะที่เป็นผู้รักษา
พระพุทธศาสนา ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
1)
จัดสร้างซุ้มประตูวัดถลุงทอง อ.ร่อนพิบูลย์ จ. นครศรีธรรมราช
2)
สมทบในการสร้างฌาปนสถาน วัดชะเมา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
3)
สร้างรูปหล่อพระธนบดีองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตัก 1 เมตร จำนวน 4 องค์
4)
จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเด็กนักเรียนยากจน
5)
สมทบในการสร้างวิหารพระธนบดี ที่พุทธสถานจีเต็กลิ้ม จ.นครนายก
ประธานที่ปรึกษาการจัดสร้าง
: พระปลักเกษม เขมจิตโต รองเจ้าอาวาส
วัดชะเมา นครศรีธรรมราช
พิธีมหาจักรพรรดิพุทธาภิเษก ครั้งยิ่งใหญ่ของเมืองนครศรีธรรมราช
* วันที่ 21มกราคม 2548 ณ มณฑลพิธีวัดชะเมา จ.นครศรีธรรมราช โดยพระเกจิอาจารยื
108 รูป พระสงฆ์
เจริญพระพุทธมนต์ 999 รูป พระพิธีธรรม 4 ชุด 16 รูป สวดคาถามหาจักรพรรดิ คาถาอิติปิโสรัตนมาลา
สวดภาณยักษ์
สวดพุทธาภิเษก พิธีสวดนพเคราะห์หลวง โดยพระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตร
เป็นประธาน
* หลักพิธีกรรม มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์บทต่างๆ เช่น พระปริตร บทภาณยักษ์
ฯลฯ เพราะท้าวกุเวรเป็น
จตุโลกบาล ผู้มีความเคารพศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ในพุทธกาลได้ถวายบทสวดไว้สำหรับพระพุทธเจ้า
เพื่อ
ประทานกับพุทธสาวก ฯลฯ ดังปรากฏในตำนานกล่าวว่า ท้าวมหาราชทั้ง 4 เป็นผู้ถวายบาตรแด่พระพุทธเจ้าเพื่อทรงรับ
ภัตตาหารจากพุทธบริษัท เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และได้ทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง
4 รวามกันเป็นบาตรใบเดียว
เพื่อใช้รับภัตตาหารจึงเป็นที่มาของบาตรพระในปัจจุบันนี้ เห็นได้ว่าบาตรพระมีแต่ผู้นำสิ่งดีๆ
มาถวายเสมอ แม้แต่ชีวิตก็
บิณฑบาตรได้นอกจากนี้มหาราชทั้ง 4 ยังได้ถวายมนต์สำคัญบทหนึ่ง เพื่อให้บรรดาพุทธสาวกสวดสำหรับป้องกันตัว
มนต์
บทนั้นคือ อาฏานาฏิยะปริตรหรือบทภาณยักษ์นั่งเอง นิยมสวดเพื่อขับไล่ภูติผีปีศาจ
คุณไสย และสิ่งอัปมงคลทั้งปวง โดย
มนต์อาฏานาฏิยะปริตร 28 พระองค์ และท้าวมหาราชในทิศทั้งสี่ คือ
1. ท้าวธตรฐ ครองทิศตะวันออก
2. ท้าววิรุฬหค ครองทิศใต้
3. ท้าววิรุฬปักษ์ ครองทิศตะวันตก
4. ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร ครองทิศเหนือ มาคุ้มครองปกป้องพุทธบริษัทผู้อยู่ในศีลธรรม
ให้ปราศจาก
ภยันตรายทั้งปวง
พิธีมนตราภิเษกฝ่ายมหายาน
* ประกอบพิธีกรรม ณ พุทธสถานจีเต็กลิ้ม ต.ศรีจุฬา อ.เมือง จ.นครนายก โดยพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน
และลามะ
จากทิเบต เรียกว่า พิธีมนตราภิเษก โดยใช้บทเจริญพระพุทธมนต์ตามหลักของมหายาน
ซึ่งพุทธสถานจีเต็กลิ้มนี้เป็นที่
ประดิษฐานของรูปหล่อเศรษฐีชัมภลองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และในเดือนมกราคม
จะมีการประกอบพิธีตามหลัก
มหายาน จึงได้นำพระธนบดีศรีธรรมราชที่จัดสร้างเข้าร่วมพิธีด้วย เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์
และเป็นสิริมงคลต่อผู้บูชา
นับเป็นครั้งแรกของภาคใต้ที่ประกอบพิธีทั้งสองแบบ
พระธนบดีศรีธรรมราช ขนาดบูชา รุ่น เจริญโภคทรัพย์ ปี 2548
รูปแบบพระธนบดีปางนั่งแท่น
|
พระบูชาปางนั่งแท่นจำลองและประยุกต์ศิลปะมาจากองค์ต้นแบบ
ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานกีเม่ต์ กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส และถือว่าเป็นองค์ที่งดงามที่สุดในโลก ซึ่งมีศิลปะศรีวิชัยบริสุทธิ์
อายุประมาณ 1,300 ปี ด้านหน้าฐาน ได้
ใส่รูปราหูเข้าไปเป็นการประยุกต์ศิลป์ตามหลักตำนานเทวกำเนิดและพระเคราะห์ชาติเวร
เพื่อความงดงามและครบถ้วนทาง
ด้านศาสตร์ รูปสิงห์ขี่ช้าง หมายถึง การมีอำนาจที่มั่นคง
สิงห์ หมายถึง อำนาจ ช้าง คือ ความมั่นคง ซึ่งมีมาแต่เดิม
หอยสังข์ คือ การประทานพรอันเป็นมงคล มือซ้ายจับพังพอน
อันเป็นสัญลักษณ์ ที่หมายถึงการนำพาโชคลาภและทรัพย์
สมบัติมาให้ มือขวาถือแก้วสัตตรัตนมณี ด้านข้างมีรูปดอกบัว มีปลาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
ช้างชูงาเทน้ำ หมายถึง
แทน คชลักษมีแสดงถึงความสมบูรณ์ที่มั่นคง
พระเนื้อว่านบูชา 200 บาท (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม.)
ใช้ต้นแบบจากท้าวกุเวรของเก่าศิลปมหายาน
กรุวัดถ้ำ จ.ยะลา ซึ่งมีศิลปะเฉพาะที่แตกต่างจากที่อื่น
|
องค์ต้นแบบที่นำมาถอดพิมพ์ติดรางวัลที่
1
งานประกวดพระที่จ. นครศรีธรรมราช |
ใช้ต้นแบบจากท้าวกุเวรของเก่าศิลปมหายาน
กรุวัดถ้ำ จังหวัดยะลา ซึ่งมีศิลปะเฉพาะที่แตกต่างจากที่อื่น
มวลสารมงคลที่นำมาผสม
1)
ดินกากยายักษ์ ที่ใช้ทำพระหลวงพ่อทวด จากลำพญา จ.ยะลา
2)
ว่านมงคลจากเขาตาชี จังหวัดยะลา
3)
น้ำมนต์หลวงพ่อทวด
4)
พระเนื้อดินชำรุดแตกหัก กรุวัด ถ้ำยะลา พิมพ์เศรษฐีชุมพล
5)
ผงพุทธคุณต่างๆ
6)
ข้าวสารดำพันปี
7)
ว่านตระกูลเศรษฐี
8)
ผงหยก
9)
ผงเหล็กน้ำพี้ จากอำเภอทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์
10) ปูนพระธาตุนครศรีธรรมราช
11) ผงพ่อท่านคลิ้ง
วัดถลุงทอง
12) ผงไม้กฤษณา
(ไม้เศรษฐี)
ประเทศฝรั่งเศส และถือว่าเป็นองค์ที่งดงามที่สุดในโลก ซึ่งมีศิลปะศรีวิชัยบริสุทธิ์
อายุประมาณ 1,300 ปี ด้านหน้าฐาน ได้
ใส่รูปราหูเข้าไปเป็นการประยุกต์ศิลป์ตามหลักตำนานเทวกำเนิดและพระเคราะห์ชาติเวร
เพื่อความงดงามและครบถ้วนทาง
ด้านศาสตร์ รูปสิงห์ขี่ช้าง หมายถึง การมีอำนาจที่มั่นคง
สิงห์ หมายถึง อำนาจ ช้าง คือ ความมั่นคง ซึ่งมีมาแต่เดิม
หอยสังข์ คือ การประทานพรอันเป็นมงคล มือซ้ายจับพังพอน
อันเป็นสัญลักษณ์ ที่หมายถึงการนำพาโชคลาภและทรัพย์
สมบัติมาให้ มือขวาถือแก้วสัตตรัตนมณี ด้านข้างมีรูปดอกบัว มีปลาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
ช้างชูงาเทน้ำ หมายถึง
แทน คชลักษมีแสดงถึงความสมบูรณ์ที่มั่นคง
เหรียญพระธนบดีศรีธรรมราช เนื้อหยก (Jadeite)
"
หยก " สีออกเขียวเข้มจัดมาก มีความสวยงาม พม่า เรียกว่า เป๊กเช็ง หรือ
เมาซิส เป็นหยกชนิดพิเศษหายากและ
มีราคาค่อนข้างสูง
หยก
คือ ตัวกระตุ้นพลังแห่งโชคลาภ ตามศาสตร์จีนโบราณ
"
หยก " มี 2 ประเภท คือ ชนิด เจไดต์ (Jadeite) และหยกชนิดเนไฟรต์ (Nephrite)
หยกเจไดต์มีคุณภาพดี
ที่สุด หยกที่นำมาจัดสร้างนี้เป็นชนิดเจไดต์ จากประเทศพม่า ซึ่งถือกันว่าเป็นแหล่งหยกอันดับหนึ่งของโลก
"
หยก " เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณนับพันปี หยกกำเนิดขึ้นจากหินธรรมชาติ
ตามศาสตร์จีน กล่าวไว้ว่าหยก
กำเนิดขึ้นจากการที่หิน ซึมซับพลังจากพลังวาล แสงอาทิตย์ แสงจันทร์ แสงดาว
พลังความร้อน ความเย็น แร่ธาตุต่างๆ นับ
ล้านๆ ปี เปลี่ยนสภาพจากหินธรรมดามาเป็น หยก อันทรงคุณค่ามีพลังแห่งชีวิต
คนโบราณนิยมนำหยกมาใช้ทำเครื่องประดับ
และสิ่งมงคลคู่กาย เช่น กำไล แหวน แผ่นหยก ฯลฯ ถือว่าหยกเป็นของสูง และมีความเชื่อว่าหยกสามารถช่วยปรับสมดุลธาตุ
ของมนุษย์ มีพลังบำบัดโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างได้ ทั้งยังเชื่อกันว่า พลังแห่งหยกสามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งอัปมงคลทุกชนิด
ให้กับผู้ครอบครอง และนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง ที่สำคัญหยกกับโชคลาภคือของคู่กัน
คนจีนจึงนิยมพกพาหยกติดตัวเป็น
เครื่องราง บางครั้งการเปลี่ยน สีของหยกสามารถเป็นเครื่องบอกเหตุดีหรือร้ายได้
เช่น ถ้าโชคดี หยกจะมีสีที่สดใสมีชีวิตชีวา
หรือบางทีหยกจะรับอันตรายแทนเจ้าของ เป็นต้น
"
หยก " มีหลายสี เช่น สีเขียว สีขาว สีม่วง สีน้ำตาล สีแดง สีเหลือง
สีดำ แต่ละสีก็ยังมีโทนแก่อ่อน ความเข้มของ
สีแตกต่างกัน
*
หยกสีเขียว เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภร่ำรวย คนจีนนิยมมาก
*
หยกสีขาว เป็นสัญลักษณ์ของความมีโชคดี ความบริสุทธิ์ พลังจิตที่สะอาด
*
หยกสีม่วง เป็นสัญลักษณ์จองความสุขสมบูรณ์
*
หยกสามสี เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ วาสนา อายุยืน หรือ ฮก ลก ซิ่ว ค่อนข้างหายาก
นอกจากนั้น
หยกแต่ละอันจะมีลวดลาย สีสันที่มีเสน่ห์ในตัวเองไม่ซ้ำกัน ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ดังนั้นการสะสม
หยก จึงมีคุณค่าและเป็นที่นำยมกันมากมาตั้งแต่โบราณ
การใช้น้ำมันหอมและน้ำมันมะกอกเช็คทาหยก
จะทำให้หยกมันวาว ดูสดใสขึ้นและเป็นการถนอมหยกที่ดี
|