ความเป็นมา
ด้วยประจักษ์แจ้งชัดแก่ประชาชนชาวไทยและชาวโลกแล้วว่า
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทางพระเกียรติคุณยิ่งใหญ่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
ตลอดจน
ประชาคมโลก อย่างใหญ่หลวง ทรงแผ่พระมหากรุณาธิคุณเกื้อกูลบรรดาผู้ยากไร้ดดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา
ทรงมีพระ
ราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนแระชาราษฏร์ทั่วทุกท้องถิ่นด้วยความห่วงใยในทุกข์สุขและการประกอบอาชีพ
ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื้อฟื้นฟูงานด้านศิลปหัตถกรรม ซึ่งกำลังจะสูญสลายไปของประเทศไทยให้ขจรไกลไปทั่วโลก
ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้มีความมั่นคง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขสบาย
ในวันที่
12 สิงหาคม พ.ศ.2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ
6
รอบ จึงนับเป็นมหามงคสมัยอันประเสริญยิ่ง สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรมพร้อม
ด้วยวัตถุมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณ จึงร่วมใจกันจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส
สำคัญดังกล่าว โดยกำหนดจัดสร้างพระกริ่ง พระพุทธรูปบูชา และพระสมเด็จนางพญา
เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้
ร่วมถวายความจงรักภักดี โดยนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
|
พิธีบวงสรวงก่อนพิธีปลุกเสกชนวนพระกริ่งจักรตรี
โดยนายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล
ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 47 ณ วัดชนะสงคราม |
สมเด็จพระสังฆราชประทานนามวัตถุมงคลฯ
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงประทานนามพระกริ่งว่า
" พระกริ่ง 72 พรรษาประชาภักดี " และประทานนามพระบูชาว่า "
พระพุทธรัชมงคลประชานาถ " มีความหมายว่า
" พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชาทรงเป็นที่พึ่งของประชาชน
"
|
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา ดับเทียนชัย |
|
|
|
|
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม,
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน
อธิษฐานจิตปลุกเสกชนวนมวลสารในการสร้างพระกริ่งจักรตรี ณ พระอุโบสถวัดชนะสงครม
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 47 |
|
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประธานจุดเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษก
ณ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม วันที่ 7 ม.ค. 2547 |
|
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจริญอธิษฐานจิตปลุกเสกชนวน |
พิธีการจัดสร้าง
เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลฯ
ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์คณะกรรมการดำเนิน
โครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ
ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง
และพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง
การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์
7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด
เดือนมกราคม
2547
ครั้งที่
1 วันอังคาร ที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่
2 วันอังคาร ที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
เดือนกุมภาพันธ์
2547
ครั้งที่
3 วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่
4 วันเสาร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ครั้งที่
5 วันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)
กรุงเทพมหานคร
เดือนมีนาคม
2547
ครั้งที่
6 วันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่
7 วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่
8 วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ก.ท.ม.
เดือนเมษายน
2547
ครั้งที่
9 วันเสาร์ ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่
10 วันอังคาร ที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
เดือนพฤษภาคม
2547
ครั้งที่
11 วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่
12 วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เดือนมิถุนายน
2547
ครั้งที่
13 วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่
14 วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ครั้งที่
15 พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ
คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ
ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททองและเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้วในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ
ใน
ครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน
2,588 แผ่น ซึ่งได้
จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี
|