Search |  Shopping cart | หน้าแรก | ศิริสโตร์มีอะไรให้คุณ | วัตถุมงคล | วิธีการสั่งจอง-ชำระเงิน | เรื่องพระน่ารู้ | เกี่ยวกับเรา | แผนที่ตั้ง






หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
รุ่น สร้างศาลาการเปรียญ

จัดสร้างโดย
วัดประสาทบุญญาวาส





พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ
วัดประสาทบุญญาวาส
วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2548



แหวนแปดทิศ
เนื้อเงินลงยาราชาวดี บูชา 1,800 บาท






พระนางพญา รุ่นเปิดกรุ2514
พบในกรุไม่เกิน 7 พันองค์
- พิมพ์สังฆาฏิ (หมดแล้ว)
- พิมพ์เข่าโค้ง (หมดแล้ว)







พระกริ่งจักรตรี 72 พรรษาราชินี






หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ




เหรียญพลังจักรวาล รุ่นชนะมาร
บูชาเหรียญละ 1,100 บาท
(พร้อมเลี่ยมแล้ว)




พระแก้วมรกต ภ.ป.ร.




หลวงพ่อทวด ภ.ป.ร.



เสือมหาอำนาจ วัดหัวลำโพง
เนื้อนวะ บูชา 400 บาท



    

      

*** ไม่ชาร์จค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ***
  ยกเว้นวัตถุมงคลเนื้อทองคำชาร์จ 2%


หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด รุ่นสร้างศาลาการเปรียญ

           วัตถุประสงค์

           1. เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและใช้ประโยขน์อื่นๆ ทั่วไป
           2. เพื่อจัดหาทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ศาลาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด
           3. เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ใช้บำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรม
           4. เพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ
           5. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีระหว่างวัดกับชุมชน
           6. เพื่อทำนุบำรุงสถาบันพระพุทฑศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบต่อไป
          



           ประวัติความเป็นมา

             ประวัติวัดประสาทบุญญาวาส
           วัดประสาทบุญญาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 36 ถนนดาวข่าง แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ สังกัดคณะสงฆ์มหานิ
กาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือติดกับกำแพงวังศุโขทัย ทิศตะวันออกติดกับ
กำแพงวังศุโขทัย ทิศใต้ติดกับกำแพงวังศุโขทัย ทิศตะวันตกติดกับถนนดาวข่าง พื้นที่วัดเป็นที่ราบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าวัด
อยู่ทางถนนดาวข่าง ทิศตะวันตกอาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 22 เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2498 มีกุฏิสงฆ์ 9 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 ศาลาบำเพ็ญกุศล 2 หลัง วิหารประดิษฐานหลวงปู่ทวด 1 หลัง ปูชนียวัตถุมี
เจดีย์ 1 องค์ อยู่ด้านหน้าอุโบสถประมาณว่าสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดครั้งแรก

           วัดประสาทบุญญาวาส สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2376 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ. 2379 ได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดคลอง
สามแสน เพราะอยู่ใกล้คลองสามแสน (ปัจจุบันเรียก คลองสามเสน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดขวิด เพราะมีต้นมะขวิดอยู่
ด้านข้างอุโบสถขนาดใหญ่ 2 ต้นและประมาณ พ.ศ. 2486 ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ เสนาสนะหลายหลังพร้อมทั้งอุโบสถหลัง
เดิมก็ถูกไฟไหม้เสียหายส่วนหนึ่ง เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน ได้สร้างอุโบสถ์ขึ้นใหม่

           ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้

           1. หลวงพ่อกัน (พ.ศ. 2455 - 2470)
           2. พระอธิการสาย (พ.ศ. 2470 - 2476) พระอธิการสายเป็นเจ้าอาวาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดทรงเสด็จฯ มาสนทนาธรรมบ่อยครั้ง บางครั้งก็ทรงนิมนต์ให้เข้าเฝ้าในวังเพื่อการสนทนาธรรม ครั้งนั้น
กุฏิของพระอธิการสายอยู่ใกล้ติดกับกำแพงวังศุโขทัย ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่านสมภารในสมัยนั้น
           3. พระอธิการเซ่ง (พ.ศ. 2476 - 2485)
           4. พระมหาอ่อน บุญยพันธ์ (พ.ศ. 2486 -2490)
           5. พระมหาทิพย์ (พ.ศ. 2490 - 2491)
           6. พระครูสมุห์อำพล (พ.ศ. 2493 - 2412)
           7. พระครูประสาทอโนมคุณ (พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบัน)

           
ประวัติพระครูประสาทอโนมคุณ

           พระครูประสาทอโนมคุณ เจ้าอาวาสวัดประสาทบุญญาวาส คณะกรรมการวัดและคณะกรรมการชุมชน (ท่าน้ำสาม
เสน) มีมติสมานฉันท์สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นแทนศาลาการเปรียญหลังเก่าที่มีอายุกาลนานได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่
สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ได้ ทางวัดจึงมีมติให้จัดสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น มีขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 25
เมตร ลักษณะทรงไทย มุงกระเบื้อง เคลือบสุโขทัยสีส้ม มีช่อฟ้าและใบระกาโดยสร้างในรูปแบบเดิม

           ในการนี้เพื่อจัดหาทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ทางวัดได้จัดงานพิธีเททองหล่อหลวงปู่ทวดพิมพ์ยืนธุดงค์
ขนาด 2.99 เมตร เพื่อประดิษฐานไว้หน้าศาลาการเปรียญหลังใหม่ด้วยและได้จัดสร้าง วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด รุ่นสร้างศาลา
เพื่อหางบประมาณมาจัดสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาฝ่ายปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณรและใช้
ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ภายในวัดเพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ใช้ในการบำเพ็ญกุศลกิจกรรมต่างๆ และใช้เป็นสถานที่
ปฏิบัติธรรมอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
สำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อสาธารณะประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

           
ทำไมพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาสจึงเป็นที่นิยมและศรัทธาอย่างสูง
           หลวงปู่ทวด ในช่วงที่ท่านจำพรรษา ณ วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นท่านมักจะเดิน
ธุดงค์มาทางภาคกลางแถบพระนครศรีอยุธยาบ่อยๆ การมาแต่ละครั้งหลวงปู่ทวดมักจะพักปักกลดอยู่บริเวณท่าน้ำสามเสน
กรุงเทพฯ ซึ่งในอดีตนั้นเป็นป่ารกสงบเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนา แล้วค่อยเดินทางกลับวัดช้างให้ บริเวณที่กล่าวมานี้ก็คือ
วัดประสาทบุญญาวาสในปัจจุบันนั่นเอง

           ในปีพุทธศักราช 2498 วัดประสาทบุญญาวาสถูกเพลิงเผาผลาญครั้งใหญ่ ในคืนหนึ่ง พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาส
วัดช้างให้ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวดโดยบอกให้ท่านไปช่วยบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ ด้วยเนื่องจากถูกไฟไหม้ พระ
อาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสืบข่าวว่านิมิตดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ โดยเข้าพักที่วัดเอี่ยมวรนุชและได้รับการ
ยืนยันว่า วัดประสาทบุญญาวาสถูกไฟไหม้จริง ในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อปรึกษาหารือกับพระ
ครูสมุห์อำพล ในการบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

           ต่อมาในปีพุทธศักราช 2502 พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นำแม่พิมพ์และมวลสาร 2497 พร้อมว่านแร่
ดินกากยายักษ์มาที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้าง พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านดำ แดง ขาว พิมพ์ที่ด้าน
หลังมีเจดีย์ และพิมพ์ที่ด้านหลัง ไม่มีเจดีย์

           พระครูบริหารคุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรสได้มอบพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักชำรุดจากรุ่นเปิดกรุในปี
2500 เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดด้วย ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นนี้ปลุกเสกโดย สมเด็จพระพุฒา
จารย์โต พรหมรังสี เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2413

           ในปีพุทธศักราช 2505 พระอาจารย์ทิม ได้นำมวลสารสมเด็จนางพญาซึ่งจัดสร้างด้วยผงสมเด็จบางขุนพรหมล้วนๆ
นำมาพร้อมกับพระหลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีด ซึ่งได้สร้างไว้ที่วัดช้างให้ นำมาเป็นแม่แบบ 3 พิมพ์ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง
พิมพ์เล็ก เพื่อถอดพิมพ์และให้พระเณรช่วยกันบดผงมวลสารจัดสร้างพระจนเสร็จแล้วพร้อมจัดพิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืนใน
ปีนั้น โดยมีพระคณาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นเข้าร่วมพิธีนั่งปรกปลุกเสกถึง 108 รูป ซึ่งเป็นการจัดสร้างพระเครื่องของวัดประสาท
บุญญาวาส ครั้งที่ 2 โดยมีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ดำเนินการร่วมกับพระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาสในปีพุทธ
ศักราช 2505-2506-2508 วัดประสาทบุญญาวาส ได้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดจำนวน 84,000 องค์ เพื่อบรรจุเจดีย์
และจัดสร้างพระกริ่งมหาสิทธิโชค โดยได้รับมอบชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯ จากอาจารย์เทพ สาริกบุตร และพระอาจารย์
ไสว วัดราชนัดดา พร้อมทั้งจัดพิธีพุทธาภิเษก 7 วัน 7 คืน โดยพระคณาจารย์หลายร้อยรูป

           
สุดยอดพระเกจิมอบชนวนมวลสารและปลุกเสก
           การจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดประสาทฯ ทั้ง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502-2505-2506-2508 นอกจากจะได้รับ
ความเมตตาเป็นพิเศษจาก พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มอบมวลสารหลวงปู่ทวดปี 2497 พระครูบริหารคุณวัตร วัดใหม่
อมตรสมอบผงสมเด็จบางขุนพรหม อาจารย์เทพ สาริกบุตรและพระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา มอบชนวนพระกริ่งจากสำนัก
ต้นตำรับการสร้างพระกริ่งแล้วยังได้รับความเมตตาเป็นพิเศษจากพระเกจิในสมัยนั้น มอบชนวนและมวลสารพร้อมทั้งเข้าร่วม
พิธีมหาพุทธาภิเษกอีกจำนวนหลายร้อยรูป เช่น สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) ญาโณทัย, พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้, หลวงพ่อจง
วัดหน้าต่างนอก, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงปู่นาค วัดระฆัง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก, หลวงพ่อผล วัดหนัง, หลวงพ่อั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม, หลวงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด, หลวงพ่อปลื้ม
วัดสวนหงษ์, พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา ชนวนและมวลสารพร้อมทั้งคณาจารย์ชื่อดังแห่งยุคในสมัยนั้นเป็นความสุดยอด
ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทยมารวมกันไว้ที่วัดประสาทบุญญาวาสซึ่งชนวนและมวลสารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังเหลืออยู่ที่วัด
ประสาทบุญญาวาสจำนวนหนึ่งและพระครูประสาทอโนมคุณ เจ้าอาวาสจะได้นำมาเพื่อจัดสร้าง วัตถุมงคลรุ่นศร้างศาลา
ปี พ.ศ. 2547 เพื่อสืบสานตำนานการสร้างพระหลวงปู่ทวดอันศักดิ์สิทธิ์ให้เลื่องลือเป็นนิรันดร์

           วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด รุ่นสร้างศาลา นี้ได้รวบรวมนำเอาสุดยอดของชนวนมวลสารมารวมกันไว้มากมายเพื่อความ
ศักดิ์สิทธิ์และพลังอานุภาพโดยเป็นการนำมาจริงๆ ทั้งหมดกล่าวพอสังเขปได้ดังต่อไปนี้


            สุดยอดชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์
           แผ่นยันต์ 108 และนะปัตถะมัง
           ชนวนพระกริ่งเก่า 9 กิโลกรัม เช่น ชนวนเก่าวัดสุทัศน์เทพวรารามหลายพ.ศ. ชนวนพระกริ่งเก่าวัดบวรนิเวศ ชนวน
พระกริ่งสามภพพ่ายหลวงพ่อเกษฒ ชนวนพระกริ่งเก่าหลวงปู่คร่ำ หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ฯลฯ

           ตะกรุดแผ่นยันต์เก่าใหม่โดยพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ กว่า 200 แผ่น เช่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่โต๊ะ
วัดประดู่ฉิมพลี พลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม อาจารย์นอง วัดทรายขาว หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน หลวงปู่เขียว วัดห้อยเงาะ หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย อาจารย์เพ็ง วัดทรายขาว หลวงพ่อวิเชียร
วัดประสาทบุญญาวาส หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ฯลฯ

           มวลสารว่าน 108 จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

           ผงว่านพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาสตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบันซึ่ง พระครูประสาทอโนมคุณ (หลวงพ่อวิ
เชียร) เจ้าอาวาสได้มอบให้เป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ในการจัดสร้าง

           ผงว่านเก่าปี 2499 ซึ่งนายช่างชวน พรหมสีทอง เก็บรักษาไว้และคุณสุธันย์ สุนทรเสวี มอบให้ส่วนหนึ่ง

           ว่านมงคล 108 เกสรดอกไม้ 108 แก่นไม้ผงกาฝากไม้มงคล 108 รวบรวมมอบให้โดย อาารย์กล้าย วัดถ้ำตลอดซึ่ง
ใช้เวลาเก็บรวบรวมกว่า 3 ปี มีว่านพญาข้อตัน ว่านพระพุทธ ว่านพระธรรม ว่านพระสงฆ์ ว่านพญานาคราช ว่านเพชรสังฆาต
ว่านเพชรดำ ว่านดองดึง ว่านเทพรำลึก ว่านธรณีสาร ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน ว่านนางอาย ว่านพญากาสัก ว่านพญาจงอาง ว่านพญา
ช้างเผือก ว่านพญามือเหล็ก ว่านพญาปัจเวก ว่านพรายปรอท ว่านพุทธกวัก ว่านเพชรแดง ว่านเพชรหน้าทั่ง ว่านพระเจ้าห้า
พระองค์ ว่านมหากาฬ ว่านมหากำลัง ว่านมหาโชค ว่านมหานิยม ว่านมหาลาภ ว่านมหาจักรพรรดิ์ ว่านโมกขศักดิ์ ว่านลูกไก่
ทอง ว่านเหล็กไหล ว่านเศรษฐี ว่านสาวหลง ว่านสิงห์โมร ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว ว่านแสงอาทิตย์ ว่านสังกรณีว่านหนุมานนั่ง
แท่น ว่านหนุมานยกทัพ ว่านห้าร้อยนาง ว่านคณฑีดำ ว่านพระสังข์ ว่านสบู่เลือด แก่นเมื่อย แก่นสะบ้า แก่นรัก กาฝากไม้ไผ่ กา
ฝากรัก กาฝากยม เขากวางหล่น งาช้างกำจัด กลิ้งกลางดง หัวร้อยรู ดอกบัวตูม รากปร้าวเงิน ปร้าวทอง แก่นสลัดได รากไฟขบ
เขี้ยว รากไฟเดือนห้า รากหัวบานเย็น ไม้แก่นจันทร์ ไม้กฤษณาเนื้อหอม บอระเพ็ด น้ำเกสรดอกไม้ร้อยแปด ซึ่งว่านแก่นไม้เหล่านี้
เป็นยาสมุนไพรอยู่ ยงคงกระพัน เป็นเมตตามหานิยมในตัว

           ผงว่านมงคล 108 มอบให้โดยหลวงพ่อเขียว วัดห้วยเงาะ จังหวัดปัตตานี

           ผงว่าน 108 ผงดินกากยายักษ์ อธิษฐานจิตโดยอาจารย์นอง วัดทราบขาว 1 พรรษา หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์ 1
พรรษา มอบให้โดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี

           ผงว่านพระเก่าพระเครื่องเก่าวัดทรายขาว อังคารเถ้าอาจารย์นอง วัดทรายขาว มอบให้โดยอาจารย์เพ็ง เจ้าอาวาสวัด
ทรายขาว

           ผงดินเวชนียสถานสำคัญ 4 ตำบล

           ดินจากสถานที่สำคัญหลวงปู่ทวด ดินจากใต้ต้นเลียบที่ผังรกหลวงปู่ทวด สำนักสงฆ์ต้นเลียบจังหวัดสงขลา ดินจาก
สถานที่หลวงปู่ทวดมรณภาพที่รัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ดินจากสถานที่พักศพหลวงปู่ทวด ณ สถูป บ้านดินแดง ประเทศมาเล
เซีย ดินจากสถานที่พักศพ หลวงปู่ทวด ไทรบนตอรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย มอบให้โดยอาจารย์เพ็ง เจ้าอาวาส วัดทรายขาว
ผงสถูปหลวงปู่ทวด บ้านประคู่ผงสถูปหลวงปู่ทวด บ้านปรักปร้า ประเทศมาเลเซีย ผงสถูปหลวงปู่ทวด บ้านทุ่งควาย ประเทศ
มาเลเซีย มอบให้โดยอาจารย์กล้าย วัดถ้ำตลอด

          ดินกากยายักษ์ วัดลำพญา จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นดินที่ใช้ในการสร้างพระหลวงปู่ทวดตั้งแต่ปี 2497 ดินผงละอองหลวง
ปู่ทวด ดินเจดีย์ผีกองทราย เจดีย์ยอดถ้ำ

          ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดรังษี
สุทธาวาส วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดโสธรวรารามวรวิหาร รวบรวมมอบให้โดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี

 
 
หน้าต่อไป   
โทร.
(02) 224-0940
(02) 221-5791
ที่อยู่ : 2 สามแยกหมอมี ถ.พระราม 4
(ติดธ.เอเชีย สาขาสามแยก) ตลาดน้อย
เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100

คลิ้กที่นี่สำหรับแผนที่ตั้งศิริสโตร์
 
 

Copyright ® 2017 Siristore.com. All rights reserved by Siristore Team.
Contact : webmaster@siristore.com (Pasit & Jantarat)