Search |  Shopping cart | หน้าแรก | ศิริสโตร์มีอะไรให้คุณ | วัตถุมงคล | วิธีการสั่งจอง-ชำระเงิน | เรื่องพระน่ารู้ | เกี่ยวกับเรา | แผนที่ตั้ง






พระพุทธสิหิงค์ (ศิลปะขนมต้มแท้)
รุ่นอุดมโชค โภคทรัพย์



จัดสร้างโดย วัดสิรินธรเทพรัตนาราม
ในพระราชูปถัมภ์
ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม



แหวนแปดทิศ
เนื้อเงินลงยาราชาวดี บูชา 1,800 บาท






พระนางพญา รุ่นเปิดกรุ2514
พบในกรุไม่เกิน 7 พันองค์
- พิมพ์สังฆาฏิ (หมดแล้ว)
- พิมพ์เข่าโค้ง (หมดแล้ว)







พระกริ่งจักรตรี 72 พรรษาราชินี






หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ




เหรียญพลังจักรวาล รุ่นชนะมาร
บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
(พร้อมเลี่ยมแล้ว)



หลวงพ่อทวด ภ.ป.ร.



เสือมหาอำนาจ วัดหัวลำโพง
เนื้อนวะ บูชา 400 บาท



    

      

*** ไม่ชาร์จค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ***
  ยกเว้นวัตถุมงคลเนื้อทองคำชาร์จ 2%


" ที่สุดแห่งงานพุทธศิลป์ ยิ่งใหญ่แห่งศาสตร์พิธีกรรม "
พิธีมหาจักรพรรดิ์พุทธาภิเษก, พิธีมหาจักรพรรดิ์เทวาภิเษก
ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 เวลา 13.39 น.

           ประวัติวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์


           วัดสิรินทรเทรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ซอยเทศบาล 1 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 7 ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสาม
พราน จังหวัดนครปฐม เป็นวัดในพระนามาภิไธยในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มก่อสร้างวัดและ
ศาสนสถานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา
           เนื่องด้วยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร ประทาน
ที่ดินให้สร้างวัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 63 ไร่ 2 งานและวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2533 พระองค์ท่านเสด็จไปทรงเททอง
หล่อพระประธาน ทรงวางศิลาฤกษ์ หอฉัน และกุฏิ ญสส.แล้ว ทรงมอบหมายให้ พระเทพวราจารย์ สมณศักดิ์ในขณะนั้น วัด
บวรนิเวศวิหาร ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และปรับปรุงสถานที่
           เบื้องต้นตั้งเป็นวิทยาเขตแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งปี พ.ศ. 2534 ดำเนินการสร้างถนนเต็ม
รูปแบบและอาคารสถานที่พร้อมที่จะรับพระภิกษุนักศึกษาเข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรี และรับเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีพระ
ภิกษุนักศึกษาและคฤหัสถ์ เข้ามาศึกษาจำนวน 585 รวมทั้งคฤหัสถ์
           ปี พ.ศ. 2535 วางโครงการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร และเริ่มโครงการสร้างศูนย์เด็กเล็กตามแนวพระราชดำริ ครั้น
ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน 2 หลัง
ปี พ.ศ. 2536 เสด็จฯ ทรงเปิดศูนย์เด็กเล็กและเปิดรับเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตั้งแต่ พ.ศ.2536 เป็นต้นมา ซึ่งขณะนี้มีเด็กก่อนวัย
เรียน 950 คน และในปีพ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยเป็นนามวิทยาเขตว่า " วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย "
ศูนย์เด็กเล็กว่า " ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย " มูลนิธิว่า " มูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย " และวัดว่า " วัดสิรินธร
เทพรัตนาราม " และทรงรับทั้ง 4 องค์กรไว้ในพระราชูปถัมภ์ นับเป็นพระมหากกรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น
           ส่วนที่เป็นวัดนั้น ได้ก่อสร้างอุโบสถ เริ่มในปี 2543 กุฏิสงฆ์ 4 หลัง และศาลาการเปรียญ 1 หลัง ทั้งหมดเป็นอาคาร
คอนกรีตทรงไทยประยุกต์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุโบสถนั้นสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา พ.ศ. 2546 พระองค์เสด็จไปวางศิลาฤกษ์ปี พ.ศ. 2544 และปี พ.ศ.
2546 ทรงเททองหล่อพระประธาน และทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ พระองค์เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์ เปิดอาคารเรียน ทรงยกช่อฟ้า
อุโบสถ รวม 6 ครั้งด้วยกัน
           อนึ่ง การก่อสร้างอาคารสถานที่ทั้งของวัด วิทยาเขต และศูนย์เด็กเล็ก สำเร็จลงด้วยดีด้วยพระบารมีของสมเด็จพระ
ญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนั้น อาจจะ
กล่าวได้ว่า วัดสิรินธรเทพรัตนาราม มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา 160 รูป เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ที่ให้บริการทางด้านวิชาการแก่
พระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท กับทั้งเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่ชุมชน เป็นชุมทางแห่งความรู้
ทุกๆ ด้าน พระภิกษุสงฆ์เป็นวิทยาในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในโรงเรียนต่างๆ เป็นสถานที่เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่ใหญ่ที่
สุดในเขตปริมณฑล กรุงเทพฯ กับทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน 2 ตำบล 2 อำเภอ 2 จังหวัด ทั้งเป็นปอดของ
เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ และเทศบาลเมืองอ้อมน้อยอีกด้วย
           การสร้างวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ว่าบวร ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ทั้ง 3 หน่วยงานจะประสานกันสู่ความสำเร็จ โดยการพัฒนาร่วมมือกันและกัน
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในลักษณะที่มีการพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อให้วัดเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะทางต่าง
จากวัดอื่น ทั้งด้านโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ สมกับเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ ในสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราช
กุมารี ในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ 48 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2546 อย่างแท้จริง


           
ตำนานพระพุทธสิหิงค์

           เรื่องตำนานหรือประวัติของพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้แล้วหลายท่าน เช่น พระโพธิรังสี ปราชญ์แห่ง
เมืองเชียงใหม่ ได้เขียนเป็นภาษามคธราว พ.ศ. 1960 และบรรยายเรื่องราวจนมาถึง พ.ศ.2454 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรม
พระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจาก พระโพธิรังสี มาจนถึงสมัย หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ได้เรียบเรียงใหม่เป็นตำนาน
ย่อและกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี ส่วนที่ผู้เขียนได้นำกล่าวมานี้ได้อ้างถึงตำนานพระพุทธสิหิงค์ ของพลตรีหลวงวิจิตร
วาทการ เขียนขึ้นเนื่องด้วยได้มีการรวบรวมข้อเท็จจริงที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายเหล่านั้นได้ค้นคว้าแล้วมาเรียบเรียงไว้ให้เป็นตำนาน
ที่อ่านง่าย เพื่อความสะดวกและเข้าใจแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาทั่วไป
           พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยามใน
สมัยพ่อขุนรามคำแหง ฉะนั้นจึงต้องนับว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยามอย่างแท้จริง แต่
ในเมืองไทย พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นมีอยู่ 3 องค์ 3 แห่งคือ

           
องค์ที่ 1   ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
           
องค์ที่ 2   ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
           
องค์ที่ 3   ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

           
พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ 1
           เป็นพระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิสูง 96 ซม. หน้าตักกว่าง 66 ซม. หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปิดทองคำเปลว พระสรีระได้
สัดส่วนและงดงามที่สุดจะหาพระพุทธรูปโบราณในเมืองไทยที่งดงาม และได้สัดส่วนเทียมพระพุทธสิหิงค์องค์นี้มิได้เลย
ตามตำนสนกล่าวว่าองค์นี้ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพมหานคร


           
พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ 2
           เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์ในกรุงเทพฯ และเมืองนครศรีธรรม
ราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก องค์นี้ศิลปะเชียงแสน

           พระพุทธสิหิงค์เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ปิดทองคำเปลวหน้าตักกว้าง
40 นิ้ว ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรก ปัจจุบันประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

           
พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ 3
           เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์เมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพ
มหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้มพระอุระอวบอ้วน หล่อด้วยสัมฤทธิ์
ปิดทอง หน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 16.8 นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ประดิษฐานอยู่ในบุษยกไม้
ณ หอพระ ระห่างศาลกับศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์นี้ศิลปะวิชัย

ิ           พระพุทธสิหิงค์องค์ทั้ง 3 องค์ 3 สมัย 3 ภาค สร้างในสมัยเดียวกัน ผู้สร้างคือ มหากษัตริย์ลังกา 3 พระองค์ ทรง
สร้างเมื่อ พ.ศ. 700
           ตำนานของพระโพธิรังสีกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ เจ้าลังกา 3 พระองค์ได้ร่วมพระทัยกันพร้อม
ด้วยพระอรหันต์ในเกาะลังกาสร้างขึ้นราว พ.ศ. 700 โดยหมายจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ถึงกับ
ตำนานกล่าวว่า พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็นตัวอย่าง
           มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแห่ง (พ.ศ. 1820-1860) มีพระภิกษุลังกาเข้ามาสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหงได้ทรง
ทราบกิตติศัพท์เลื่องชื่อ ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีพุทธลักษณะที่งดงาม พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรม
โศกราช แต่งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกา เนื่องด้วยว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่
กับลังกาอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ได้ตามพระราชประสงค์อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงานพิธีสมโภชใหญ่โตเป็น
เวลา 7 วัน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่นจำลองไว้บูชา 1 องค์ โดยกล่าวไว้ว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระ
พุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัยพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุก
พระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา

           พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้ มีลักษณะตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม คือ
มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้นระดับพระถัน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน
คู่เมืองของชาวนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูปและสัดส่วนที่งดงามมาก
           ครั้งเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลังลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัย
ไว้ในอำนาจเมื่อพ.ศ. 1920 พญาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราช ลงมาครองพิษณุโลก จึงได้
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์โดยมาทางเรือลงมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
           เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอำนาจแล้ว ได้จัดแบ่งการปกครองออกเป็นสองมณฑลคือเมืองตาก เมือง
กำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์เป็นมณฑลหนึ่ง มีกำแพงเพชรเป็นเมืองหลวง ให้พระยาธิษฐิระเป็นผู้ปกครอง และเมือง
สุโขทัย, สวรรคโลก กับพิษณุโลก เป็นมณฑลสอง ให้เจ้านายในราชวงศ์พระร่วงปกครอง พระยาธิษฐิระ ผู้ครองกำแพงเพชร
นั้นปรากฏว่า ราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ปรารถนาจะได้พระพุทธสิหงิค์ไปประดิษฐานไว้เมืองกำแพง
เพชร จึงให้มเหสีผู้เป็นมารดาตนขอพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วติดสินบนขุนพุทธบาลผู้รักษาพระ เลือพระพุทธสิหิงค์ส่งไป
เรื่องมีต่อว่าในพ.ศ.1931 นี้เองมีพระภิกษุรูปหนึ่งในเมืองกำแพงเพชรปั้นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ด้วยขี้ผึ้ง และนำพระพุทธ
รูปจำลองนี้ไปเชียงราย เมื่อเจ้าหมาพรหมผู้ครองนครเชียงรายได้เห็นจึงได้ชวนเจ้ากือนาพี่ชายผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพ
ไปกำแพงเพชรและขู่ขอพระพุทธสิหิงค์ พระยาธิษฐิระต้องยอมยกพระพุทธสิหิงค์ให้ไปพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ณ
วัดพระศรีสรรเพชรกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 เชียงใหม่เป็นพวกพ้องพม่าจึงสามารถอัญเชิญ
พระพุทธสิหิงคืกลับไปเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2310
           มาถึงสมัยกรุงรัตรโกสินทร์ เมื่อเชียงใหม่ได้รวมอยู่กับคนไทยแล้ว พม่ายกกองทัพมาล้อมเชียงใหม่ สมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าพ้น
เมืองเชียงใหม่ สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ จึงได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มากรุงเทพฯ (พ.ศ. 2334) ประดิษญานในพระ
ที่นั่งพุทไธสวรรย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยนัยนี้ นับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง
ของสยามประเทศ มาตั้งแต่ต้นประวัติกาลผู้แต่งตำนานคือพระโพธิรังสี ได้พรรณาอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้เป็นอันมาก
มีข้อที่น่าฟังตอนหนึ่งกล่าวว่า " พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิธานุภาพด้วยเหตุ 3 ประการ คือ อธิษฐานพละของ
พระอรหันต์ อธิษฐานพละของเจ้าลังกาหลายพระองค์ และศาสนพละของพระพุทธเจ้า " ซึ่งหมายความว่า กำลังใจของพระ
อรหันต์ และกำลังใจของเจ้าลังกาพร้อมทั้งกำลังแห่งพระพุทธศาสนา กระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรง
อานุภาพ อีกตอนหนึ่งพระโพธิรังสี กล่าวว่า " พระพุทธสิหิงค์เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรือง
ดั่งดวงประทีปชัชวาล เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ "
           ในส่วนของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ผู้ซึ่งได้รวบรวมตำนานพระพุทธสิหิงค์เองมีความเชื่อมั่นในอานุภาพของพระ
พุทธสิหิงค์อยู่มาก " อย่างน้อยก็สามารถบำบัดทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วย
เหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก 10 นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยว
แห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจ ที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับ
เข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยันผู้ที่หมดหวังจะกลับมีความ
หวัง " คุณานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ดังกล่าวมานี้ กระทำให้ท่านเชื่อเหตุผลของพระโพธิรังสีว่าอธิษฐานพละ คือกำลังใจของ
พระอรหันต์และเจ้าลังกาผู้สร้างพระพุทธสิหิงค์ได้เข้าไปอยู่ในองค์พระพุทธสิหิงค์พร้อมทั้งศาสนพละของพระพุทธเจ้าและ
ข้อที่พระโพธิรังสีกล่าวว่า " พระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ที่ใดก็เหมือนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น " ข้อนี้ก็สมจริง ใครที่ได้
เห็นพระพุทธเจ้าแม้แต่ยังมิได้ฟังพระธรรมเทศนาเลย ก็มีความสบายใจในทันทีที่ได้เห็นผู้ใดที่ได้เห็นผู้ใดที่ได้เห็นพระพุทธ
สิหิงค์ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน พระพุทธสิหิงค์ เป็นที่เคารพสักการบูชาขององค์พระมหากษัตริย์ ของประชาชนชาวสยาม
มาเป็นเวลาช้านาน จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศเลยทีเดียว
           ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านทั้งหลาย ที่น้อมใจกระทำการสักการบูชาพระพุทธสิหิงค์ ผุ้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
เลิศล้ำ ขออานุภาพแห่งพระพุทธสิหิงค์จงเป็นเครื่องช่วยเหลือให้ท่านมีความเจริญรุ่งโรจน์ อุดมโชคโภคทรัพย์ทุกสถานตลอด
กาลนานฯ

 
 
 กลับไปก่อนหน้า
โทร.
(02) 224-0940
(02) 221-5791
ที่อยู่ : 2 สามแยกหมอมี ถ.พระราม 4
(ติดธ.เอเชีย สาขาสามแยก) ตลาดน้อย
เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100

คลิ้กที่นี่สำหรับแผนที่ตั้งศิริสโตร์
 
 

Copyright ® 2017 Siristore.com. All rights reserved by Siristore Team.
Contact : webmaster@siristore.com (Pasit & Jantarat)