|
|
ในวโรกาสที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระ ชนมมายุ 90 พรรษา ประทานอนุญาตให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช สร้างวัตถุมงคล มีรายการดังนี้ 1. พระพุทธชินสีห์บูชา ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระพุทธชินสีห์เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศ วิหาร พุทธศิลปสุโขทัยที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของไทย คู่กับพระพุทธชินราช ในการสร้างครั้งนี้ จัดสร้างจำนวน 99 องค์ น้อมถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อประทานผู้มีอุปการคุณพระอัธยาศัย 2. พระกริ่งคชวัตร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้จำลองจากพระพุทธรูปศิลปะเนปาล ที่พุทธศาสนิก ชนชาวเนปาลถวาย เมื่อครั้งที่เสด็จประเทศเนปาล เพื่อทรงบรรพชาชาวศากยบุตร ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งพระพุทธรูปดั่ง กล่าวมีความเก่าแก่นับร้อยปี มีความงดงามเป็นเลิศ และได้ประทานอนุญาติให้อัญเชิญนามสกุลในพระองค์ท่าน คือ " คชวัตร" ถวายเป็นนามพระกริ่ง เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์สกุลในพระองค์สืบไป นับว่าทรงให้ความสำคัญกับพระ กริ่งคชวัตรมาก 3. พระชัยวัฒน์คชวัตร พุทธศิลป์เหมือนกับพระกริ่งคชวัตร พระชัยวัฒน์ นิยมสร้างคู่กับพระกริ่ง แต่มีขนาด เล็กกว่ามาก มีความหมายถึงชัยชนะ สมัยโบราณในการไปศึกสงคราม จะมีการนำพระชัยวัฒน์ติดตัวไปด้วยเสมอ ที่รู้จัก กันโดยทั่วไป ได้แก่ พระชัยหลังช้างสำหรับพระมหากษัตริย์ อัญเชิญไว้บนหลังช้างในขณะเสด็จออกศึก 4. ครอบน้ำมนต์คชวัตร เป็นครอบน้ำมนต์ที่มีศิลปะงดงามสร้างตามอย่างครอบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โบราณ ของ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายในครอบน้ำมนต์ที่ฝามียันต์เทพชุมนุม มีความศักดิ์สิทธิ์คือเทพผู้ให้ความคุ้มครอง ยันต์ที่ก้น ครอบน้ำมนต์คือยันต์มหาพิชัยสมบัติ มีความศักดิ์ด้านโชคลาภ ในสมัยโบราณเขียนยันต์นี้ใส่ไว้ที่ก้นบ่อน้ำ นำน้ำรดนา เจริญงอกงาม นำไปอาบมีโชคลาภมหาศาล ในครอบน้ำมนต์มีพระกริ่งคชวัตรเนื้อนวโลหะใส่ไว้หนึ่งองค์ ใต้ก้นพระกริ่ง มียันต์มหาพิชัยสมบัติ ในทางความศักดิ์สิทธิ์นั้น นิยมว่าถ้านำพระกริ่งนี้แช่น้ำจะเกิดเป็นน้ำพระพุทธมนต์ เนื่องจากยันต์ มหาพิชัยสมบัติเป็นยันต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เกิดโชคลาภมหาศาลป้องกันภยันตรายนานา 5. พระรูปเหมือนลอยองค์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จัดสร้างขึ้นครั้ง นี้มี 2 แบบ ได้แก่แบบบูชา มี 2 ขนาด คือ หน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว และ 4 นิ้ว เนื้อนวโลหะ เนื้อสัตตโลหะ และเนื้อทองเหลือง รมดำ ซึ่งประทานอนุญาตให้จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก แบบวัตถุมงคล ได้แก่ พระรูปเหมือนลอยองค์ ขนาด 1.5 ซม. และ 1. ซม. เนื้อทองคำและเนื้อนวโลหะ โลหะที่นำมาจัดสร้างและวัตถุมงคลที่บรรจุ ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้นำโลหะชนวนพระกริ่งที่มีพิธีเททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่โบราณ เป็นต้นมา ซึ่งได้แก่ ชนวนพระกริ่งปวเรศ พระกริ่งไพรีพินาศ พระกริ่งสุจิตโต พระกริ่งบวรรังษี พระกริ่งสุวัฑฒโน ชนวนพระพุทธรูป ภ.ป.ร พระพุทธรูปพระชินสีห์ เป็นต้น ภายในองค์พระกริ่ง พระรูปเหมือน ของสมเด็จฯ ทุกๆ องค์ บรรจุเส้นพระเกศาของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และมีหมายเลขพร้อมโคด (Code) กำกับ และสร้างจำนวนจำกัด ส่วนผสมของนวโลหะ มีทองคำผสมตามสูตรของวัดบวรนิเวศวิหารที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งผิวจะกลับดำเป็นมัน ขลับ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงลงอักขระในแผ่นทองคำ และคณาจารย์ทั่วประเทศจำนวน 108 รูป ลงอักขระในแผ่นทอง เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในโลหะที่จัดสร้าง พิธีพุทธาภิเษกฯ วันที่ 26 กันยายน 2546 เวลา 15.19 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกล มหาสังฆปริณายก เสด็จทางเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พัน ตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นามพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ชุดเดียวกับพระสงฆ์ที่เจริญชัยมงคลคาถาในพิธีเททองฯ นามพระสงฆ์สวดพุทธาภิเษก 1. จากวัดสุทัศนเทพวราราม 2. จากวัดนครสวรรค์ นามพระสงฆ์นั่งบริกรรม เจริญจิตภาวนา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
Copyright
® 2017 Siristore.com.
All rights reserved by Siristore Team. |