|
ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร ปรัชญามหาวิทยาลัยนเรศวร วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง ความเป็นมาของชื่อพระ รายการวัตถุมงคล รายละเอียดวัตถุมงคล
|
ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร มีสถานภาพที่ได้พัฒนาสืบต่อกันมาหลายขั้นตอน โดยเริ่มต้นจากการเป็น "วิทยาลัย วิชาการศึกษาพิษณุโลก" เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2510 ซึ่งวิทยาลัยการศึกษาพิษณุโลกสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวง ศึกษาธิการ ในขณะนั้นมีคณะวิชาเพียงคณะเดียว คือ คณะศึกษาศาสตร์ ทำหน้าที่ผลิตครูระดับปริญญาตรีหลักสูตรการศึกษา บัณฑิตเพียงหลักสูตรเดียว ภายหลังจากการเป็นวิทยาลัยการศึกษาได้ 7 ปี ก็ได้ รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรี- นครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2517 โดยมีรองอธิการบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด สำหรับหน่วยงาน ที่รับผิดชอบด้านการจัดการศึกษานั้นมีสถานภาพเป็นส่วนหนึ่งของ 4 คณะวิชา คือคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะ สังคมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีรองคณบดีคณะต่างๆ เป็นผู้บริหาร (คณบดีอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) รวมเวลาการเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ 16 ปี จึงได้พระราชาทานนามมหาวิยาลัยแห่งใหม่นี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยได้เปิดสอนสาขาวิชาใหม่ๆ ที่สนองตอบความต้องการของชุมชน ทั้งด้านวิทยาศาตร์และ- เทคโลโนยีและด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปรัชญามหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร มีอุดมการณ์มุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามรอยเบื้องยุคลบาท สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ผู้พระราชทานความเป็นไท ความสงบ ความผาสุก แก่ปวงชนชาวไทยมาแล้วในอดีต มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงมุ่งมั่นที่จะสืบสานสังคมไทยเป็นไทจากอวิชชา โดยค้นคว้าและสะสมองค์ ความรู้ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิตและ สร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุขและสันติสุขมุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี เพื่อเป็นมรดกของชาติสืบต่อไป มหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายหลักที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมจังหวัดในเขตพื้นที่ ที่ให้บริการภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด วิทยาเขตสารสนเทศพระเยา 6 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน และอีก 12 ศูนย์ บริการในจังหวัดต่างๆ ทั่วไปประเทศ ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่จ. พิษณุโลกจำนวนทั้งสิ้น 132 สาขาวิชา ใน 16 คณะ 2 วิทยาลัย และวิทยาเขตสารสนพะเยา จำนวน 38 สาขาวิชาใน 6 สำนักวิชา โดยจัดกลุ่มตามศาสตร์วิทยาการของแต่ละสาขาเป็น 3 กลุ่มคือ - กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติ - กลุ่มวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, วิทยาลัยพลังงานทดแทน - กลุ่มวิทยาศาตร์ ประกอบด้วย คณะแพทย์ศาสตร์, คณะทันตแพทย์ศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะสหเวช- ศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรมีจำนวนนิสิตในทุกสาขาวิชา จำนวน 27,128 คน วัตถุประสงค์ - เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - เพื่อจัดสร้างศาลา "เทพรัตน์" กลางสระบัว สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ภปร. พระพุทธรูปประจำ มหาวิทยาลัยนเรศวร และพัฒนาภูมิทัศน์ บริเวณสระให้เป็นสถานที่เพื่อการสันทนาการของบุคคลาการและประชาชน - เพื่อก่อตั้งกองทุนบัณฑิตคืนถิ่น " สิรินทร " สำหรับช่วยเหลือนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มาจากถิ่น ทุรกันดาร ได้มีโอกาสในการศึกษาที่ดี - เพื่อดำเนินกิจกรรมพิเศษทางวิทยาลัย ความเป็นมาของชื่อพระ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระที่กรมศิลปากรได้ทำการเปิดกรุพระได้จากวัดร้างนอกเมืองสุโขทัย เก่า 2 วัดด้วยกัน เมื่อคราวขุดแต่งบูรณะโบราณ สถานเมืองเก่าของจังหวัดสุโขทัย และได้ทำการเปิดกรุที่วัดต้นราวจันทน์ เป็นวัดแรกเมื่อปี พ.ศ.2506 กับวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม) เป็นกรุที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2508 สำหรับการเปิดกรุนั้น ปรากฏว่ามีกลิ่นหอมตลบอบอวลออกมาเป็นกลิ่นหอมที่รัญจวนใจยิ่งนักกลิ่นหอม ประหลาดนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นกลิ่นหอมดอกว่านเสน่ห์จันทน์ ที่มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม พระเครื่องที่พบภายใน กรุนั้นก็อบอวลด้วยกลิ่นว่านเหมือนกัน จึงได้ขนานนามเป็นมงคลว่า พระนางพญาเสน่ห์ ด้วยมีพุทธลักษณะขององค์พระ ละม้ายกับพระนางพญาของ เมืองพิษณุโลก และกำแพงเพชร พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ที่ได้เปิดกรุทั้ง 2 ครั้งนี้ปรากฏว่ามีแต่เนื้อดินเท่านั้นพระเนื้อชินไม่มีปรากฏเลย พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ของวัดตาเถรขึงหนังหรือวัดศรีพิจิตกิรติกัลยาราม โดยที่วัดนี้ทางกรมศิลปากร ได้พบหลักศิลปากรได้พบหลักศิลาจารึกครึ่งท่อน หลักหนึ่งได้บอกไว้ว่าเป็นวัดที่พระมเหสีของพระเจ้าลิไทเป็นผู้ทรงสร้างไว้ โดยที่วัดตาเถรขึงหนังนั้นปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ. 2499 นายมะลิ โคกสันเทียะ อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากร ที่ 3 สุโขทัย ได้พบหลักศิลาจารึกจมดินอยู่ที่บริเวณวัดทางด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ใหญ๋เข้าหลักหนึ่ง ศิลาจารึกหลักนี้ เป็นหินชนวนเขียวชำรุด โดยศิลาจารึกท่อนบนที่พบสูง 72 ซม. กว้าง 68 ซม. จารึกเป็นอักษรภาษามคธ เขียนด้วยอักษรขอม มี 2 บรรทัด ส่วนภาษาไทยเขียนด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัยมี 15 บรรทัด จากข้อความในศิลาจารึกกล่าวได้ความว่า วัดนี้ในสมัยสุโขทัยมีนามว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้าง เมื่อ พ.ศ. 1943 ตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 (พระยาไสยลือไท) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่1 (พระยาลิไท) โดยโปรดให้ไปอาราธนา สมเด็จพระมหาศรีกิรติฯ ซึ่งเป็นพระสังฆราชมาจากเมืองกำแพงเพชรให้มาเป็น ประธานในการจัดสร้าง ด้วยเหตุนี้ วัดจึงมีนามว่าวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามตามนามพระสังฆราชพระองค์นั้น ทั้งนี้สมเด็จ พระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาผู้สร้างพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ จากรพะนามแสดงว่าทรงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองนคร ศรีธรรมราช รวมทั้งพระนามของสมเด็จพระมหาศรีกิรติฯ พระสังฆราชศาสนาด้วยเช่นกัน ที่น่าจะสืบทอดมาจากเมือง นครศรีธรรมราชตามประวัติพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในสมัยสุโขทัย ดังนั้นพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ที่กรมศิลปากรขุดได้จากในพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดนี้ จึงเป็นพระสำคัญ เพราะเป็นพระที่พระมเหสีพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยและพระสังฆราชสมัยสุโขทัยทรงสร้าง ด้วยเหตุดังกล่าวพระนางพญา เสน่ห์จันทน์นี้ จึงเป็นพระเครื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง พุทธลักษณะ พระนางเสน่ห์จันทน์เป็นพระปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานชั้นเดียวอยู่ใน ทรงกรอบรูปสามเหลี่ยม พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นพระเครื่องสกุล พระนางพญาที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุความ เก่าถึงประมาณ 600 ปี สร้างขึ้นในยุคสมัยสุโขทัยก่อนพระนางพญาพิษณุโลก ซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระนางพญา เสนห์จันทน์มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดด้วยพุทธศิลปะยุคสุโขทัยบริสุทธิ์มีความอ่อนช้อยหวานซึ้งเป็นเลิศ จัดเป็นพระที่มี ตระกูลสูง ครั้งนี้นับได้ว่ามีการสร้างขึ้นใหม่อย่างเป็นทางการ ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี เจริญพระชนมายุ 50 พรรษา และได้รับพระกรุณาธิคุณ พระราชทานอักษรนามาภิไธย ส.ธ. ประดิษฐานที่ด้านหลัง ของพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ภาพพิธีมังคลาภิเษกมวลสารมงคล ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบพิธีกดพิมพ์พระ นางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นปฐมฤกษ์ จำนวน 9 องค์ ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 29 มิถุนายน 2548
|
||||||||||
|
||||||||||||
โทร. |
(02)
224-0940 (02) 221-5791 |
|||||||||||
ที่อยู่ : 2 สามแยกหมอมี
ถ.พระราม 4 (ติดธ.เอเชีย สาขาสามแยก) ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100 คลิ้กที่นี่สำหรับแผนที่ตั้งศิริสโตร์ |
Copyright
® 2017 Siristore.com.
All rights reserved by Siristore Team. |