|
วัตถุมงคลอมตะ
รุ่น ไตรภาคีศรีนคร
วัดนางตรา อ.ท่าศาลา
จ.นครศรีธรรมราช
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
แหวนแปดทิศ
เนื้อเงินลงยาราชาวดี
บูชา 1,800 บาท
พระนางพญา
รุ่นเปิดกรุ2514
พบในกรุไม่เกิน 7 พันองค์
- พิมพ์สังฆาฏิ (หมดแล้ว)
- พิมพ์เข่าโค้ง (หมดแล้ว)
พระกริ่งจักรตรี
72 พรรษาราชินี
หลวงพ่อสด
วัดปากน้ำ
เหรียญพลังจักรวาล
รุ่นชนะมาร
บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
(พร้อมเลี่ยมแล้ว)
พระแก้วมรกต
ภ.ป.ร.
หลวงพ่อทวด
ภ.ป.ร.
เสือมหาอำนาจ วัดหัวลำโพง เนื้อนวะ บูชา 400 บาท
พระยูไลฮุกโจ้ว วัดหัวลำโพง
(พระอมิตาภะพุทธเจ้า)
จัดสร้างเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี
*** ไม่ชาร์จค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ***
ยกเว้นวัตถุมงคลเนื้อทองคำชาร์จ 2% |
|
วัตถุมงคลอมตะ
รุ่น ไตรภาคีศรีนคร (Trai Pa Kee Sri Nakon batch)
นครศรีธรรมราช
(History of Nakorn Sri Thummaratch Province)
เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า
1,500 ปี ในอดีตมีชื่อว่าเมืองตามพรลิงค์ เชื่อกันว่าในช่วงระยะต้น
ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย
ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง
ในเกาะสุมาตรา โดยมีพระเจ้ากรุงศรีวิชัย เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ปก
ครองอาณาจักรในศิลาจารึกวัดเสมาเมืองได้บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่าในปี 1318 พระเจ้ากรุงศรีวิชัย
ได้เคยเสด็จมาที่เมืองตาม
พรลิงค์ในฐานะเจ้าประเทศผู้ปกครอง และได้สร้างสถูปเจดีย์กบสถาปนาพระพุทธวิหารขึ้นสามหลัง
(จากสารนครศรีธรรมราชปีที่ 26 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2539 หน้า 30)
นครศรีธรรมราช
หรือเมืองตามพรลิงค์ในอดีตเป็นแหล่องอารยะธรรมสำคัญ
เป็นแหล่งค้าขายทางทะเล เป็นศูนย์รวมแห่งศิลปศาสตร์
เป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธและพราหมณ์ที่เข้ามาเป็นอันดับแรก ด้วยเหตุนี้วัดวาอารามโบราณสถานหลายแห่ง
จึงมีความเก่าแก่
รกร้างมีการขุดพบโบราณวัตถุ และพระกรุมากมายหลายแห่ง ในจำนวนพระกรุที่สร้างขึ้นในยุคสมัยศรีวิชัยที่มีเชื่อเสียงโด่งดัง
ได้รับความนิยมสูงสุดและโดดเด่นในด้านพุทธคุณ มีการแสวงหากันในระดับหลักหลายแสนบาทจนถูกจัดอยู่ในทำเนียบพระกรุ
ยอดนิยมของนครศรีธรรมราชและทั่วภาคใต้ในชุดไตรภาคี คือพระปรกโพธิ์กรุวัดท่าเรือ
พระนาคปรกกรุ วัดนางตรา และพระ
ยอดขุนพลกรุวัดนาสน
|
|
|
พระนาคปรก กรุวัดนางตรา
(Old Sample) |
พระปรกโพธิ์ กรุวัดท่าเรือ
(Old Sample) |
พระยอดขุนพล กรุวัดนาสน
(Old Sample) |
วัดนางตรา (History of Wat Nangtra)
มีชื่อเดิมว่าวัดพระนางสุพัตรา
เป็นวัดที่มีประวัติมายาวนานกว่าพันปี โดยตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าศรี
ธรรมโศก ได้สร้างเจดีย์พระบรมธาตุเพื่อบรรลุพระสารีริกธาตุ ข่าวการสร้างพระเจดีย์
ได้แพร่ไปถึงอาณาจักรศรีวิชัยในเกาะ
สุมาตรา เจ้าหญิงองค์หนึ่งซึ่งเป็นธิดาของพระเจ้ากรุงศรีวิชัยพระนามว่า พระนางสุพัตรา
นางพญาผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธ
ศาสนา จึงได้จัดเรือสำเภาสามร้อยลำพร้อม ทรัพย์สมบัติข้าทาสบริวารเดินทางจากเกาะสุมาตรามุ่งสู่เมืองตามพรลิงค์
แต่ขณะ
เดินทาง มาใกล้จะถึงได้มีอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งเกิดล่มเสียก่อน และได้ทราบว่าการก่อสร้างพระเจดีย์เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว
พระ
นางสุพัตราทรงเห็นชัยภูมิใกล้กับเรือพระที่นั่งล่มเหมาะสมที่จะสร้างวัด จึงได้สร้างวัดขึ้นมาและใช้ชื่อว่า
วัดพระนางสุพัตรา
เมื่อพระองค์สร้างวัดเสร็จก็ได้บวชเป็นแม่ชี ประทับอยู่ที่วัดนี้ตลอดพระชนม์ชีพ
(พ่อท่านวรรณ วัดเสาธงทองได้ให้ข้อมูลเพิ่ม
เติมว่า เมื่อพระนางสุพัตราสิ้นพระชนม์แล้วก็ได้จุติเป็นเทพธิดาบนสรวงสวรรค์)
จากชื่อวัดพระนางสุพัตราต่อมามีการเรียกัน
สั้นขึ้นว่า วัดพระนางตรา และกลับกลายเป็นวัดนางตราเช่น ในปัจจุบันวัดนางตราเป็นแหล่งกำเนิดพระกรุหลายแบบพิมพ์
อาทิ
พิมพ์นาคปรก, พิมพ์ผาลไถ, พิมพ์ซุ้มประตูประทานพร และยังมีการขุดพบแผ่นกระเบื้องโบราณจารึกเรื่องราวเกี่ยวกับ
ท้าว
จตุคาม-ท้าวรามเทพ สันนิษฐานได้ว่า ท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ ได้เสด็จมาร่วมสร้าง
วัดพระนางสุพัตราด้วยวัดนางตราได้
ถูกปล่อยรกร้างมานานหลายร้อยปีและเพิ่งจะมีการบูรณะพัฒนาขึ้นใหม่ในปี 2490
วัดท่าเรือ (History of Wat Tahreur)
เป็นวัดโบราณเก่าแก่แหล่งกำเนิดพระกรุยอดนิยมอันดับหนึ่งในภาคใต้คือพิมพ์ปรกโพธิ์ซุ้มเรือนแก้วในอดีตบ้านท่า
เรือเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองเพราะเป็นแหล่งค้าขายทางทะเลเป็นสถานที่ซึ่งพระอรหันต์,
พระโสณะเถร, พระอุตรเถร,
พระฌาณียเถร, พระภูริยะเถร, พระมูนียะเถร มาขึ้นท่าและเหยียบแผ่นดินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกและพักแรมสร้างวัดท่าเรือ
เมื่อพันกว่าปีก่อน นอกจากพระพิมพ์ปรกโพธิ์แล้วที่วัดท่าเรือก็ได้มีการขุดพบ
พระพิมพ์วงแขน, พิมพ์ผาลไถ, พิมพ์ใบพุทรา
ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่เดิมของวัดท่าเรือซึ่งถูกปล่อยรกร้างมานานหลายร้อยปีได้ถูกสร้างเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์
นครศรีธรรมราช
วัดนาสน (History of Wat Nason)
เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่มีประวัติมายาวนานไล่เลี่ยกับวัดนางตราและวัดท่าเรือ
วัดนาสน ได้ถูกปล่อยรกร้างมานานหลาย
ร้อยปีเช่นกันเป็นแหล่งกำเนิดพระกรุยอดนิยม สามพิมพ์ คือพิมพ์ยอด ขุนพลใบพุทรา,
พิมพ์วงเขนและพิมพ์ซุ้มกระรอกกระแต
ซึ่งพระกรุทั้งสามพิมพ์นี้ก็ได้ขุดพบที่วัดนางตรา และวัดท่าเรือด้วยเช่นกัน
และวัดนาสนก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศด้วย
วัตถุมงคลรุ่น พุทธ ศิลป์ย้อนยุค
วัตถุมงคลอมตะ รุ่นไตรภาคีศรีนคร
มูลเหตุแห่งการจัดสร้างสืบเนื่องมาจากพระอาจารย์เจริญ
เจ้าอาวาสวัดนางตรา มีเจตนาที่จะก่อสร้างอุดบสถขึ้นใหม่
แต่ในการนี้จำเป็นต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก จึงได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์มาถึง
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชให้ช่วยเป็น
ประะานในการก่อสร้างอุโบสถ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งมีความผูกพันกับวัดนางตราและเคยประจักษ์ในอำนาจพุทธคุณ
ของพระนาคปรกมานับครั้งมิถ้วนย่อมต้องยินดีในมหากุศลครั้งนี้ จึงได้มอบหมายให้บุตรชายคือ
คุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช
และผู้มีจิตศรัทธาดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลร่วมกับ พระอาจารย์เจริญ เจ้าอาวาส
เพื่อหาปัจจัยมาก่อสร้างอุโบสถให้สำเร็จ
ลุล่วงโดยเร็ววัน
|
พ่อท่านวรรณ วัดเสาธงทองและพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
ผู้หยั่งรู้เรื่องราวของท้าวจตุคาม-ท้าวรามเทพ |
วัตถุมงคลอมตะ รุ่นไตรภาคีศรีนคร
ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ได้นำเอาพระกรุไตรภาคี
ที่โดดเด่นที่สุดสามพิมพ์คือ พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดท่าเรือ, พิมพ์นาคปรก
วัดนางตรา และพิมพ์ยอดขุนพลวัดนาสน มาประยุกต์จัดสร้างขึ้นใหม่โดยเน้นทุกรูปแบบพิมพ์ทรงให้มีความ
คมชัดและสวย
งามตามสมัยนิยมโดยยังคงไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ของพระกรุดั้งเดิม นอกจากนี้ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลยอดนิยมรูปแบบอื่นอีกสอง
พิมพ์ ทรงอันสวยงาม ในด้านเนื้อหาชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์และในด้านพิธีกรรมมหามงคล
อันเข้มขลัง ซึ่งกำหนดขึ้น
สามวาระครบ ไตรภาคีศรีนคร คือ
* พิธีมหามงคลบวงสรวง
ณ. วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช (วัดท่าเรือ) ในวันที่ 12 มีนาคม 2548
* พิธีมหามงคลพุทธาภิเษก
ณ. ศาลาการเปรียญพันธรักษ์ราชเดช วัดนาสน ในวันที่ 17 มีนาคม 2548
* พิธีสมโภชพุทธาภิเษก
ณ. วัดนางตรา ในวันที่ 19 มีนาคม 2548
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าวัตถุมงคลอมตะ
รุ่นไตรภาคีศรีนคร ซึ่งรวบรวมพระกรุไตรภาคียอดนิยม สามแบบพิมพ์สามกรุ
ดังมารวมเป็นหนึ่งเดียวในรุ่นนี้จะต้องได้รับความนิยมศรัทธาจากมหาชนชาวนครศรีธรรมราชและทั่วไปอย่างแน่นอน
เพราะ
ทรงคุณวิเศษควรค่าแก่การมีไว้บูชาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง ที่พิเศษสุดก็คือวัตถุมงคล
เนื้อผงทุกองค์สามารถ
เรืองแสงสุกใสในความมืด
|
|
วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช
(วัดท่าเรือเก่า) |
บริเวณวัดนาสน |
|
|
บริเวณวัดนางตรา |
อุโบสถเก่าที่จะรื้อถอนและสร้างใหม่ |
พระนาคปรกนางตรา
ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมทรงสูงขอบมนขนาด
5.9 ซม. ด้านหน้าเป็นองค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ
นั่งสมาธิบนบัลลังค์นาคมุจลินทร์เจ็ดเศียร ด้านล่างบนฐานนาคประทับไว้ด้วยพระพิมพ์นางพญา
เพื่อเทิดพระคุณของพระนาง
สุพัตรานางพญาผู้สร้างวัดนางตรา ด้านหลังกึ่งกลางเป็นองค์พระพุทธเจ้าปางประทานพรในซุ้มประตู
(เป็นรูปแบบพระกรุ
พิมพ์ หนึ่งของวัดนางตรา) ด้านบนเป็นองค์พญาราหู ด้านซ้ายเป็นยันต์นอโม ด้านขวาเป็นยันต์นะราหู
|
พระอาจารย์เจริญ เจ้าอาวาสวัดนางตรา |
พระปรกโพธิ์ท่าเรือ
ลักษณะเป็นพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมขอบลายไทย
ขนาด 5.9 ซม. กึ่งกลางเป็นรูปทรงเดิมของพระปรกโพธิ์ท่าเรือ ด้านบน
ซ้ายเป็นองค์ท้าวจตุคามขวาเป็นองค์ท้าวรามเทพ ซึ่งเป็นพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง
เทพยดารักษาเมืองนครศรีธรรมราช
ด้านหลังเป็นองค์พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลป์และความสำเร็จทั้งปวง (ปัจจุบันวัดท่าเรือเดิมเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์
นครศรี
ธรรมราช)
|
พระผงทุกองค์เรืองแสงสีเขียวในความมืด |
พระยอดขุนพลนาสน
ลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาด
5 ซม. กึ่งกลางเป็นองค์พระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวในซุ้มเรือนแก้ว
ด้านข้างซ้ายขวาเป็นรูปสถูปเจดีย์ ด้านหลังกึ่งกลางเป็นพระพิมพ์ซุ้มประตูกรุวัดนางตรา
พระปางปาฏิหาริย์
ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมขอบมนขนาด
6.5 ซม. ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธเจ้าประทับนั่งห้อยพระบาทในซุ้มเรือน
แก้ว ด้านซ้ายและขวาเป็นรูปองค์เทพยดา พระพิมพ์นี้อาศัยแบบจากพระยอดขุนพล
วัดพระมหาธาตุฯ ปี 2497 ซึ่ง พล.ต.ต.
ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้ออกแบบลักษณะพิมพ์ทรงและสร้างร่วมกับอาจารย์ชุม
ไชยคีรี ด้านหลังนับได้ว่า มีความพิเศษที่สุด
เพราะพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้มอบคำอวยพรและรอยนิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งลายเซ็นต์ให้จารึกไว้เป็น
อนุสรณ์ด้วยจัด
สร้างขึ้นเพียงเนื้อเดียวคือ เนื้อไม้ตะเคียนอินทภาณี จำนวน 999 องค์ สืบต่อไปจะเป็นวัตถุมงคลอันทรงคุณค่า
ที่หาได้ยากยิ่ง
พระผงท้าวจตุคาม-ท้าวรามเทพ
ลักษณะเป็นทรงรูปไข่ขนาด
5.7 ซม. ด้านหน้าเป็นองค์ ท้าวจตุคามประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาประทานพรบน
บังลังค์ดอกบัวบาน มีความคมชัดนูนสูงสวยงามที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมา ด้านหลังกึ่งกลางประทับไว้ด้วยองค์ท้าวรามเทพ
กษัตริย์ผู้น้อง รอบนอกประทับไว้ด้วยองค์พญาราหูสี่ทิศและลวดลายไทยพุ่มข้าวบิณฑ์โดยด้านบนเป็นองค์ท้าวจตุคาม
ด้านล่าง
เป็นองค์ท้าวรามเทพ ด้านซ้ายเป็นองค์เจ้าแม่อินทภาณี รุกขเทวดาผู้สถิตย์อยู่ในต้นตะเคียนเสาหลักเมือง
ซึ่งเคยแสดงปาฏิหาริย์
ต่อพล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อครั้งทำพิธีเบิกเนตรเสาหลักเมือง โดยปรากฏกลุ่มควันจางขณะที่ปลายดินสอสัมผัสพระ
เนตรเสาหลักเมือง ทั้งพ่อท่านวรรณ วัดเสาธงทองและพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
รับรู้ด้วยญาณที่ตรงกันว่ารุกขเทวดาใน
เสาหลักเมืององค์นี้มีนามว่า เจ้าแม่อินทภาณี ด้านขวาเป็นองค์พระเจ้ากรุงศรีวิชัย
พระมหากษัตริย์ผู้เกรียงไกรแห่งอาณาจักร
ศรีวิชัยผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ในอดีต รูปแบบด้านหลังนี้กำหนดโดยองค์ท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ
ซึ่งสื่อผ่านองค์พ่อ
ท่านวรรณ วัดเสาธงทอง โดยเน้นนักเน้นหนาให้มีองค์พระเจ้ากรุงศรีวิชัย ซึ่งเปรียบเสมือนพี่ใหญ่ด้วยและขอให้ช่วยประกาศ
เกียรติคุณให้รู้จักโดยทั่วกัน รายละเอียดทั้งหมดนี้สอบถามได้จากพ่อท่านวรรณ
วัดเสาธงทอง พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม
ขลังซึ่งพล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เคารพนับถือเป็นพระอาจารย์องค์หนึ่ง
(การจำนำไม้ตะเคียนเก่าเสาหลักเมืองมาใช้ผสมใน
วัตถุมงคลทุกรุ่นคุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช จะต้องนิมนต์พ่อท่านวรรณให้ประกอบพิธีขออนุญาติต่อองค์จ้าวแม่อินทภาณี
ก่อน เมื่อท่านอนุญาติแล้วจึงค่อยดำเนินการ)
การจัดสร้างวัตถุมงคลรูปองค์ท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ
โดยวัดนางตราไม่ใช่เรื่องผิดแผกอันใดเพราะท่านทั้งสอง
เป็นเทพยดารักษาเมืองนครศรีธรรมราช อีกทั้งได้เคยมีการขุดพบแผ่นกระเบื้องจารึกเรื่องราวของ
ขุนอินทรไสเรนท์ (ท้าวจตุ
คาม) และขุนอินทรเขาเขียว (ท้าวรามเทพ) ในวัดนางตรา จึงได้สันนิษฐานได้ว่า
ท้าวจตุคามและท้าวรามเทพได้เคยเสด็จมา
ร่วมสร้าง วัดนางตราร่วมกับพระนางสุพัตราธิดาของพระเจ้ากรุงศรีวิชัย พระมหากษัตริย์
ผู้ครองอาณาจักรศรีวิชัยและประ
การสำคัญ คือนามท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ คุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ได้ยินได้ฟังมาจาก
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กๆ คือเกือบ 50 ปีก่อนแล้ว หาใช่เพิ่งจะมารู้จักหรือได้ยินนามนี้เมื่อตอนสร้างศาลหลักเมืองเมื่อปี
2528
ไม่ สำหรับพระผงท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ รุ่นไตรภาคีศรีนครนี้ พ่อท่านวรรณ
วัดเสาธงทองจะประกอบพิธีให้เป็นกรณีพิเศษ
โดยจะอัญเชิญพระเจ้ากรุงศรีวิชัย ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพและเจ้าแม่อินทภาณี
ร่วมประสิทธิ์ประสาทเพื่อความสมบูรณ์นอก
เหนือจากที่ได้นำเข้าพิธีมหามงคลสามวาระ
|