|
|
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคล
กำหนดพิธีมหามงคลพุทธาภิเษก 14 พฤษภาคม 2548 ประกอบพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามหลักพิธีการโบราณถูกต้องทุกขั้นตอน
ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้เท้าความตั้งแต่สมัยพุทธกาล ครั้งเสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งและประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่ต่างๆ โดยในคราวถวายพระเพลิงนั้นพระเกษมมหา เถระได้กำบังกายเข้าในกองเพลิงอัญเชิญพระทันตธาตุออกไปถวายพระเจ้าสิงหราชแห่งนครป่าหมาก ต่อมาเรียกนครนี้ว่า ทนธบุรี มีกษัตริย์เมืองต่างๆ ยกทัพมาชิงพระทันตธาตุนี้มิได้ขาด กระทั่งกษัตริย์หนุ่ม 5 พรองค์ยกทัพเข้าประชิดเมือง พระเจ้า สิงหราชคาดการณ์ว่ายากจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงให้พระราชธิดา ราชบุตร พระนางเหมชาลา พระทนทกุมาร อัญเชิญพระทันต ธาตุลงกำปั่นหนีไปกรุงลังกาเพื่อถวายแก่พระเจ้ากรุงลักกาที่ได้มาทูลขอหลายครั้งแล้ว แต่เรือกำปั่นถูกพายุพัดแตกกลางทะเลซัด ทั้งสองขึ้นฝั่งแล้วเดินทางถึงหาดทรายแก้วฝั่งพระทันตธาตุที่ซ่อนในพระเกศาของพระนางเหมชาลาลง ณ หาดทรายแก้ว จน เมื่อพระมหาเถรพรหมเทพพบเข้า ได้นำลองกุมารอัญเชิญพระทันตธาตุต่อไปยังลังกาถวายต่อพระเจ้าทศคามมุนีสร้างพระบรม ธาตุเจดีย์ประดิษฐานพร้อมผูกภาพยนต์รักษาไว้ในลังกา แล้วให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 2 ทะนาน ประทานให้พระนางเหม ชาลาและเจ้าทนทุกมารอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว ที่พระทันตธาตุเคยมาสถิตก่อนจะเสด็จกลับทนธบุรีที่ศึกสงบ ลงแล้ว โดยที่หาดทรายแก้วนั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าธรรมโศกราชแห่งเมืองเอาวราชทรงอพยพผู้คนหนีไข้ห่าลงมาทางใต้ตามลำดับ ถึงหาดทรายแก้ว แก้ไข้ห่าได้สำเร็จด้วยพิธีทำเงินตรานะโมแล้วให้ขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ แก้ภาพยนต์ได้แล้วทรงสร้างพระ บรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือนครศรีธรรมราชขึ้น พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนี้แม้ว่าจะมีผู้กล่าวว่าเป็นของที่สร้างคลุมพระสถูปองค์เดิมภายในก็ตาม แต่ลักษณะ ก็เป็นของเก่าแก่และเชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลของพระเจดีย์แบบลังกา เจดีย์พระบรมธาตุคงสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ใน สมัยที่เมืองนครศรีธรรมราชยังเป็นราชธานีของภาคใต้อยู่ลักษณะของพระเจดีย์ในระยะแรกนั้น มีเจดีย์เล็กประดับที่มุมทั้งสี่และ รอบๆ ฐานประดับด้วยช้างหัวโผล่ออกมานอกซุ้ม พระเจดีย์นี้เป็นสัญญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะได้กลายเป็นแบบอย่างให้แก่พระสถูปเจดีย์อีกหลายๆ องค์ ซึ่งสร้างขึ้นมาในสมัยหลัง จนทุกวันนี้ พระเจดีย์พระธาตุนคร ศรีธรรมราชกลายเป็นเจดีย์ที่ส่งอิทธิพลในทางศิลปสถาปัตยกรรมไปยังเจดีย์ในภาคต่างๆ ทางภาคกลางและภาคเหนือของประ เทศไทย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลีโภดม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดพุทธาวาสประจำเมือง ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาเป็นธุระของชาวเมืองเจ้าเมืองและคณะสงฆ์ตลอดทั้งพุทธ ศาสนิกชนทั่วไปในภาคใต้ร่วมกันบำรุงรักษา รองศาสตาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม กล่าวว่า เป็นมหาเจดีย์ของชุมชนชาวพุทธใน ภูมิภาคเช่นเดียวกับมหาเจดีย์อื่นๆ เช่น พระปฐมเจดีย์, พระธาตุพนม ที่ไม่สร้างในตัวเมืองใด แต่สร้างไว้นอกเมืองเพื่อให้เป็น ศูนย์กลางโดยปริยาย เฉพาะที่พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนั้นนอกจากมีคณะสงฆ์ลังกาแก้วที่วัดตะเขียนบางแก้ว เมืองพัทลุง และคณะสงฆ์กาชาดที่วัดพะโคะสงขลาแล้ว ยังมีระบบการดูแบรักษาโดยตั้งพระเถระผู้ใหญ่ของเมือง 2 รูปเป็นหัวหน้าผู้รักษา พระบรมธาตุ (พระครูเหมเจติยานุรักษ์ พระผู้รักษาเจดีย์ทอง และพระครูเหมเจติยาภิบาล-พระผู้ดูแลเจดีย์ทอง) ร่วมกับพระครู กาแก้ว, การาม, กาชาด, กาเดิม ที่ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุทางทิศต่างๆ พระบรมธาตุเจดีย์เพิ่งจะอยู่ภายในตัวเมืองในสมัย อยุธยาเมื่อย้ายเมืองจากเมืองพระเวียงทองตอนใต้มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ครอบคลุมองค์พระบรมธาตุเจดีย์ไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบรมธาตุเจดีย์มีสภาพถูกทอดทิ้งทรุดโทรมมาก พระภิกษุปานอาสานำชาวใต้และชาวนครทำ การซ่อมแซมครั้งสำคัญระหว่างปี พ.ศ. 2537-2441 จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปาภิบาล เรียกชื่อทั่วไปว่า วัดพระบรมธาตุ, วัดพระธาตุ, วัดพระมหาธาตุ ต่อมาในคราวเสด็จประพาสเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 ได้ พระราชทานนามอย่างเป็นทางการเพื่อการจัดระเบียบวัดหลวงไม่ให้ชื่อพ้องพระอารามหลวงที่มีมหา เจดีย์ในภาคใต้ว่าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พร้อมกับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหารเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2458 โดยให้มีพระสงฆ์อยู่ประจำ เป็นวัดสังฆาวาส และรวมเอาวัดร้างทางทิศเหนือ (วัดมังคุต) และได้ (วัด พระเดิม) รวมเข้าด้วยโดยได้รับการบูรณะรักษาต่อเนื่องตลอดมาที่สำคัญคือ การบูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ระหว่างปี พ.ศ.2537-2538 วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เป็นศูนย์กลางและสัญญลักษณ์ทางจิตใจที่สำคัญของชาติและพุทธศาสนิกชนทั้งไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวมาเลเวีย มีประเพณีประจำที่สำคัญคือประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ, กวนข้าว ยาคู มธุปายาส, ตักบาตร ธูปเทียน, การสวด้านและงานบุญเดือนสิบ เป็นที่สถิตของพระเถระผู้ใหญ่หลายองค์ ได้แก่ พระรัตนธัขมุนี (คณฐาถรณเถรแบน เปรียญ) พระธรรมรัตโนภาษ (โอภาโสเถรประดับเปรียญ) และพระราชธรรมสุธี (สมปอง ปญฺญาทีโป) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะ จังหวัดนครศรีธรรมราช-ธรรมยุตองค์ปัจจุบัน รายการวัตถุมงคล 1. ท้าวจัตตุคาม-รามเทพ รูปหล่อ บูขา (ขนาดสูง 19 นิ้ว) (Boocha Jatukarm-Ramathep 19" height)
| |||||||||||||
|
|||||||||||||||
โทร. |
(02)
224-0940 (02) 221-5791 |
||||||||||||||
ที่อยู่ : 2 สามแยกหมอมี
ถ.พระราม 4 (ติดธ.เอเชีย สาขาสามแยก) ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100 คลิ้กที่นี่สำหรับแผนที่ตั้งศิริสโตร์ |
Copyright
® 2017 Siristore.com.
All rights reserved by Siristore Team. |