|
พระพุทธชินราชใบเสมา ย้อนยุค
หนึ่งในห้าพระเบญจภาคี เนื้อชิน
พระเครื่องแห่งความภูมิใจ
ของชาวพิษณุโลก
พิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารพระพุทธชินราช
วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2547
พิธีเททองหล่อพระ
รายการวัตถุมงคล
ประธานฝ่ายสงฆ์ :
พระเทพรัตนกวี รองเจ้าคณะภาค 5
เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหา
วิหาร จังหวัดพิษณุโลก
ประธานฝ่ายฆราวาส :
นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
แหวนแปดทิศ
เนื้อเงินลงยาราชาวดี
บูชา 1,800 บาท
พระเครื่องชุด
เบญจภาคี ภ.ป.ร.
พระกริ่งจักรตรี
72 พรรษาราชินี
พระศาสดา
ภ.ป.ร.
ทองแดง THB200.-
หลวงพ่อทวด
ภ.ป.ร.
*** ไม่ชาร์จค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ***
ยกเว้นวัตถุมงคลเนื้อทองคำชาร์จ 2% |
|
พิธีเททองหล่อพระเป็นปฐมฤกษ์
พิธีเททองหล่อพระเป็นปฐมฤกษ์
ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2547
- พระเทพรัตนกวี
รองเจ้าคณะภาค
5 เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
- นายพิพัฒน์
วงศาโรจน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
ประธานฝ่ายฆราวาส
- พระครูสุวิธานศาสนกิจ
(พระอาจารย์ไพรินทร์)
เป็นเจ้าพิธี
พระชินราชใบเสมา
เป็นพระที่กำเนิดที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดใหญ่ เป็นพระศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น
สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างก็คือ " พระมหาธรรมราชาลิไท
" พระมหากษัตริยืของกรุงสุโขทัยเมื่อครั้งครองเมืองพิษณุโลก
พระชินราชใบเสมา
เป็นพระที่กำเนิดที่วัดใหญ่และเป็นวัดเดียวกันกับพระพุทธชินราชองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระ
ประธานของวัด จึงนำพระนามของท่านมาเป็นชื่อของพระเครื่องที่ขุดค้นพบ ก็คือ
พระชินราชใบเสมานั่นเอง
สาเหตุที่เรียกว่า
" ใบเสมา " ก็เพราะองค์พระนั่งประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ที่มีลักษณะคล้ายใบเสมาที่อยู่รอบ
โบสถ์ จึงนำสัญฐานรูปร่างของใบเสมาเป็นชื่อพระอีกด้วย
พระชินราชใบเสมา
แตกกรุออกมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 ในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่
5
ได้มีประชาชนนำทูลเกล้าถวายพระองค์ก็นำมาแจกจ่ายให้แก่พสกนิกรที่ติดตามมาอย่างถ้วนหน้า
นอกจากจะพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วยังมีผู้พบที่กรุอื่นอีกคือ
กรุพระปรางค์ กรุอัฏฐารส กรุเขาสมอแคลง
กรุพรหมพิราม และที่กรุเข้าพนมเพลิง แต่ความนิยมอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมากที่สุด
พระที่ถูกค้นพบมีชนิดเนื้อชินเงิน
เนื้อสำริด เนื้อดิน
พระชินราชใบเสมา
เป็นพระที่สร้างศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น เพราะฉะนั้นพระพักตร์ของท่านจึงดูเข้มคล้ายกับ
ยิ้มเครียดๆ แฝงไปด้วยความมีอำนาจโดยเฉพาะพระศก หรือเส้นผม จะทำลักษณะเห็นเป็นเส้นๆ
แสดงถึงความเป็น
เอกลักษณ์ ของพระพิมพ์นี้
พระชินราชใบเสมา
ที่ค้นพบมีด้วยกับหลายพิมพ์ คือ
-
พิมพ์ใหญ่ฐานสูง
-
พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย
-
พิมพ์กลางฐานสูง
-
พิมพ์กลางฐานเตี้ย
-
พิมพ์เล็กฐานสูง
-
พิมพ์เล็กฐานเตี้ย
ปัจจุบันพระชินราชใบเสมา
ถือเป็นพระเนื้อชินที่เป็นพระหลักและหายาก ราคาจึงจัดว่าสูงหลักหลายแสนบาท
ส่วน
ทางด้านพุทธคุณนั้น สูงทางด้านแคล้วคลาด เมตตาและความมีอำนาจ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องปกครองดูแลผู้คนควรจะมีติดตัว
ไว้สักองค์หนึ่ง
กำหนดปิดจองเฉพาะพระบูชา วันที่
30 กันยายน 2547 (พิมพ์ตามโบว์ชัวร์)
(โปรดจองด่วน! เพื่อคณะกรรมการจะได้สรุปยอดและดำเนินการหล่อพระ)
พิธีพุทธาภิเาก ณ
วิหารพระพุทธชินราช วันที่ 29 ตุลาคม 2547
กำหนดรับพระ วันที่
10 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป
|