Search |  Shopping cart | หน้าแรก | ศิริสโตร์มีอะไรให้คุณ | วัตถุมงคล | วิธีการสั่งจอง-ชำระเงิน | เรื่องพระน่ารู้ | เกี่ยวกับเรา | แผนที่ตั้ง





: : พระนิรันตราย(จำลอง) 2 กษัตริย์ : :
จารึกอักษรพระปรมาภิไธย
จปร. และ วปร.

มหาพุทธานุภาพแห่งแผ่นดิน

รายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว
และ

สมทบทุนโครงการสร้าง อาคาร '๑๐๐ ปี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'


จัดสร้างโดย
 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์















พระปิดตา รุ่นมงคลชีวิต(โกผ่อง)






: : พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ - จปร. และ วปร. มหาพุทธานุภาพแห่งแผ่นดิน : :
: : (Phra Nirantarai 2 Kings - Jor Por Ror & Wor Por Ror)
: :

*** ไม่รวมใน Promotion ซื้อ 5 แถม 1 (Not participate in Promotion Buy 5 GET 1 FREE ***

            วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
            1. เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            2. สมทบทุนโครงการสร้างอาคาร '๑๐๐ ปีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'
            ของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2489

            จัดสร้างโดย (Made by)
            สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Chula University Alumni)

            พิธีมหาพุทธาภิเษก (Chanting Ceremony)
             ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง (The Royal Palace)
            วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2552 เวลา 17:00 น.
(May 15, 09 at 17:00)

           จำนวนการจัดสร้าง - ทุกรายการจัดสร้างจำนวนจำกัด หรือ ตามจำนวนสั่งจองเท่านี้น
            (The production amount of amulets are limited or based on the booking amount only)

ประวัติ และความเป็นมาของ 'พระนิรันตราย'


            
พระนิรันตราย อันมีความหมายว่า “ปราศจากอันตรายนิรันดร์” เป็น พระบูชารัชกาลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพุทธลักษณะอันงดงามของศิลปะสองยุค ด้วยองค์ใน (องค์ดั้งเดิม) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัย
ทวาราวดี ส่วนองค์นอกที่สร้างครอบไว้นั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ครองผ้าแบบธรรมยุตศิลปะรัตนโก-
สินทร์ตอนกลาง

            เหตุแห่งพระนามพระนิรันตรายนั้น ด้วยเกิดเหตุอัศจรรย์หลายครั้งคราตามบันทึกกล่าวไว้ว่า ในครั้ง
นั้น เมื่อปี พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งเป็นชาวเมืองปราจีนบุรี ได้ฝันว่าจับช้างเผือกได้ และหลังจากนั้นไม่นาน กำนันอิน
กับบุตรชายชื่อนายยัง เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบ
พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงนำไปมอบให้พระ
เกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตรคู่กับพระกริ่ง
ทองคำน้อยครั้นในปี พ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตรได้ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไปเป็น
ที่น่าอัศจรรย์ใจ อย่างยิ่งที่กลับไม่ลักเอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดใหญ่ ่กว่ามาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า...พระพุทธรูปที่กำนันอินทูลเก้าฯ ถวาย
นั้น เป็นทองคำทั้งแท่ง และใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียว
กับผู้ที่ขุดได้ไม่ได้ทำอันตราย เป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งนักที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง พระอง๕จึงถวายนาม
ว่า
“พระนิรันตราย”

             จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่ง
ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อครอบพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อ
เป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุตินิกาย ซึ่งทรงสถาปนาขึ้น
แพร่หลาย จนมีผู้ศรัทธาสร้างวัดถวายในนิกายนี้มากขึ้น ใน พ.ศ.2411 จึงโปรดฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปนี้ขึ้น 18
องค์ เท่าจำนวนปีที่เสวยราชย์ เพื่อถวายเป็นที่ระลึกแก่วัดในนิกายนั้น แต่สวรรคตเสียก่อน มาถวายในรัชกาลที่ 5 และต่อมารัชกาลที่ 6 พ.ศ.2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารถว่า เสวยราชย์มา
เท่ากับรัชกาลที่ 2 จึงโปรดฯให้ช่างหล่อพระพุทธรูปนั่งสมาธิกาไหล่ทองรวม 16 องค์ขนานนามว่า “พระนิโรคันตราย” มีรูปนาคแปลงเป็นมนุษย์ เชิญฉัตรกั้น พระรูปหนึ่ง เชิญพัดโบกรูปหนึ่งอยู่สองข้างๆ ละรูป ถวายพระมหานิกาย 15 องค์ เก็บไว้กับพระนิรันตรายในพระบรมมหาราชวังองค์หนึ่ง และประดิษฐาน ณ หอพระสุลาลัยพิมานพระบรมมหาราชวังจนบัดนี้

             ในปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดสร้าง “พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ ครั้งแรกในรอบ 141 ปี” โดยจำลององค์ใน (องค์ดั้งเดิม) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร หน้าตัก 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว มีพุทธลักษณะแบบศิลปะ
ทวาราวดี และจำลององค์นอก ซึ่งสวมครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรเช่นเดียวกันหน้าตัก 5
นิ้วครึ่ง มีพุทธลักษณะแบบอย่างสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ครองผ้าอย่างยุติธรรม งดงามตามแบบพระพุทธรูปที่สร้าง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังมีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงใน
วงกลีบบัวเบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 พระคุณนามแสดงพระพุทธคุณ ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎติดอยู่กับฐาน
ชั้นล่างของฐานพระทำเป็นที่สำหรับสรงน้ำพระ มีท่อเป็นรูปหัววัว แสดงเป็นที่หมายพระโคตรซึ่งเป็นโคตรมะ และ
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโน) วัดสระเกศ ได้เป็นประธานประกอบพิธีเททอง
และกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ณ มณฑลพิธีหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองกษัตริย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ พระเกจิ
คณาจารย์นั่งอธิษฐานจิต 8 ทิศ ได้แก่หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้, หลวงพ่อรวย
วัดตะโก, หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อสืบ
วัดสิงห์ และหลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน
โครงการมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ผู้มีไว้ครอบครองและเป็นการตอบแทนผู้ที่ร่วมบริจาค   เพื่อสร้าง
อาคาร ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ที่ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 เพื่อให้นิสิตเก่าชาวจุฬาฯ ทุกคณะทุกรุ่นได้มีศูนย์กลางในการพบปะสัง
สรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันคิดสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีคุณประโยชน์ทั้งต่อนิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานในพิธีเททองพระนิรันตรายสองกษัตริย์




สมเด็จพระพุฒาจารย์ )เกี่ยว) วัดสระเกศ กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ พระนิรันตรายสองกษัตริย์









No. 1 & 2 ชุดประธานกิตติมศักดิ์ (The President Honorary Set)


พระนิรันตราย (จำลอง) องค์นอก ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อบรอนซ์ปิดทองคำเปลวแท้
+ พระนิรันตราย (จำลอง) องค์ใน ขนาดหน้าตัก 2.5 นิ้ว
เนื้อทองคำแท้อิเลคโตรฟอร์มมิ่ง (นน.ไม่น้อยกว่า 26 กรัม)
+ พระกริ่งนิรันตราย ขนาดหนัาตัก 0.5 นิ้ว เนื้อทองคำแท้อิเลคโตรฟอร์มมิ่ง
(องค์พระ 99.99% นน. 1 กรัม, ซุ้ม 9K นน. 1.7 กรัม รวมนน. 2.7 กรัม)
+ พระผงพิมพ์สมเด็จ หน้าปัดทอง รวม 4 องค์
(หลังโลหะชุบทอง, ชุบเงิน 2K, เงิน, ชุบนาก)

(Phra Nirantarai 5" width (Outer) - Bronze with whole piece gold patched
+ Phra Nirantarai 2.5" width (Inner) - Real Gold Electroforming (Gold Total > 26g)
+ Kring Nirantarai 0.5" Real Gold Electroforming
(Gold Total 2.7g)
+ Somdej Nirantrai Powder Set of 4 pcs.
(Back Silver, Gold plated, 2K plated, Pink Gold plated)

No.1 ชุดประธานกิตติมศักดิ์ พระผงสีครีม (White Powder Set) สั่งจองชุดละ
(หมด, sold out)

No.2 ชุดประธานกิตติมศักดิ์ พระผงสีดำ (Black Powder Set) สั่งจองชุดละ(หมด, sold out)




No. 3 ชุดกิตติมศักดิ์ (The Honorary Set)


พระนิรันตราย (จำลอง) องค์นอก ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อบรอนซ์ปิดทองคำเปลวแท้
+ พระนิรันตราย (จำลอง) องค์ใน ขนาดหน้าตัก 2.5 นิ้ว
เนื้อบรอนซ์ปิดทองคำเปลวแท้

(Phra Nirantarai 5" width (Outer) - Bronze with whole piece gold patched
+ Phra Nirantarai 2.5" width (Inner) (- Bronze with whole piece gold patched)

No. 3 ชุดกิตติมศักดิ์ (หมด, sold out)




No. 4 & 5 ชุดกรรมการ (The Committee Set)

+ พระกริ่งนิรันตราย ขนาดหนัาตัก 0.5 นิ้ว เนื้อทองคำแท้อิเลคโตรฟอร์มมิ่ง
(องค์พระ 99.99% นน. 1 กรัม, ซุ้ม 9K นน. 1.7 กรัม รวมนน. 2.7 กรัม)
+ พระผงพิมพ์สมเด็จ หน้าปัดทอง รวม 4 องค์
(หลังโลหะชุบทอง, ชุบเงิน 2K, เงิน, ชุบนาก)

(Kring Nirantarai 0.5" Real Gold Electroforming (Gold Total 2.7g)
+ Somdej Nirantrai Powder Set of 4 pcs.
(Back Silver, Gold plated, 2K plated, Pink Gold plated)

No.4 ชุดกรรมการ พระผงสีครีม (White Powder Set) สั่งจองชุดละ(หมด, sold out)

No.5 ชุดกรรมการ พระผงสีดำ (Black Powder Set) สั่งจองชุดละ(หมด, sold out)




 
 
Page 1 | 2 | 3  
 
 

Copyright ® 2017 Siristore.com. All rights reserved by Siristore Team.
Contact : webmaster@siristore.com (Pasit & Jantarat)